การพัฒนารูปแบบการยุติข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ฉลองบูรณ์ เพ็งลำ
ธีรศักดิ์ ลีละพัฒนา
พีรพัฒน์ พันศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการยุติข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล พลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอการบริหารจัดการยุติข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี   2. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการยุติข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล     พลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี


              โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง และผู้ที่มีข้อพิพาท จำนวน 10 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า


              การบริหารจัดการยุติข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วม ต้องตั้งเป็นรูปแบบคณะกรรมการ อันเกิดจากบุคคลหลายฝ่าย เช่น กรรมการหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อพาท และคู่กรณีพิพาท โดยบุคคลภายนอกที่มาดำเนินการไกล่เกลี่ย  ข้อพิพาท ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องที่พิพาทที่จะสามารถช่วยตัดสินกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งพบปัญหาและอุปสรรค  ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยุติข้อพิพาท การสมานฉันท์ หรือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน พบปัญหาต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีความเอนเอียง ไม่เป็นกลาง คู่กรณีจึงไม่เคารพต่อผลการตัดสิน 2) ปัญหาด้านบุคลากร พบว่า       ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ 3) ปัญหาด้านงบประมาณและทรัพยากร พบว่า งบประมาณที่ได้รับจัดสรรมีน้อย และการเบิกจ่ายตามระเบียบของทางราชการมีความยุ่งยาก โดยแนวทางในการสร้างการบริหารจัดการยุติข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลดีมากยิ่งขึ้นต้องประกอบไปด้วย การสร้างองค์ความรู้ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้บุคลากร และสร้างองค์ความรู้ในกฎหมายพื้นฐานแก่คนในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปกรณ์ เข็มมงคล และสุวรรณา รองวิริยะพาณิช, (2562) ระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมในบริบทประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(2), 23-30.

ดิเรก สาระวดี, (2540). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจชุมชน, พิมพ์ครั้ง 1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ. (2540). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์การชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริรัตน์ สำรวญ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการปฏิบัติงานของแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2556-2558) องค์การบริหารส่วนตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(1), 25-32.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540. สืบค้น 14 ตุลาคม 2561, จาก http://lad.correct.go.th/main/wp-content/uploads/2018/08/รธน40.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=2&content_id.

Cohen , M John and Uphoff Norman T. (1980). Participation ’ s Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity: 1980, 8, World Development. 8 . pp. 213 - 218.

Karp, D. and Clear, T. (2000). Community Justice: A Conceptual Framework in Criminal Justice 2000, vol. 2, (Charles M. Fried, ed.) Washington, DC: United States Department of Justice, Office of Justice Programs. National Institute of Justice.

Holton, V. L., et al. (2011). Measuring Community University Partnerships across a Complex Research University: Lessons and Findings from a Pilot

McNamana, (2559) C.Basic guidelines to problem solving and decision making. Available สืบค้น 20 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.authenticityconsulting.com