ศักยภาพการให้บริการรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพภายใต้ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงานของการบริการรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดจันทบุรี ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณจากผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน ด้วยสถิติความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติ t-test และวิเคราะห์ด้วยหลัก IPA (Importance Performance Analysis) เพื่อหาศักยภาพระหว่างความคาดหวังและผลการปฏิบัติงานในการให้บริการรถโดยสารสาธารณะจากมุมมองของผู้ใช้บริการ ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการให้บริการรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดจันทบุรีที่ต้องให้ความสำคัญในการแก้ไขและพัฒนาใน 5 มิติ คือ 1) ด้านบุคลากร:การให้บริการด้วยอัธยาศัยและสุภาพ 2) ค่าโดยสาร:การกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางให้ชัดเจน 3) ความเชื่อถือได้:การออกรถโดยสารให้ตรงตามตารางเวลาและจำกัดจำนวนผู้โดยสารตามกฎหมาย 4) ความสะดวกสบาย:เพิ่มจำนวนเที่ยวรถที่เพียงพอต่อความต้องการ และ5) สภาพแวดล้อม:การมีที่นั่งที่เหมาะสมไม่เบียดเสียด ขณะเดียวกันสิ่งที่คงรักษามาตรฐานและพัฒนาเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการบริการ คือ 1) ด้านบุคลากร:มีประสบการณ์และทักษะในการขับรถ 2) ค่าโดยสาร:ค่าโดยสารที่ถูกกว่าการให้บริการรถโดยสารรูปแบบอื่น 3) ความเชื่อถือได้:มีการระบุชื่อผู้ให้บริการ ทะเบียนรถ เบอร์โทรศัพท์ที่ชัดเจน 4) ความสะดวกสบาย:มีช่วงเวลาเริ่มและสิ้นสุดการให้บริการในแต่ละวันเหมาะสม และ5) สภาพแวดล้อม:สภาพรถพร้อมในการให้บริการและมีหมายเลขรถและป้ายบอกเส้นทางชัดเจน
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
[2] กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (15 พฤศจิกายน 2560). สถิติจำนวนรถจดทะเบียนใหม่. สืบค้นจาก https://web.dlt.go.th/statistics/. (เว็บไซต์)
[3] บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, นนทบุรี: หจก. เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, 2548.
(หนังสือ)
[4] คำนาย อภิปรัชญาสกุล, การจัดการขนส่ง, นนทบุรี : ห.จ.ก. ซี. วาย. ซิซเทิม พริ้นติ้ง, 2537. (หนังสือ)
[5] Igy George, Modified Importance - Performance Analysis of Airport Facilities- A Case Study of Cochin International Airport Limited. IOSR Journal Of Humanities And Social Science (IOSR-JHSS), Volume 17, Issue 4 (Nov. – Dec.), pp. 09 – 15, 2013. (วารสาร)
[6] Brett L. Bruyere, Donald A. Rodriguez & Jerry J. Vaske, Enhancing Importance-Performance Analysis Through Segmentation, Journal of Travel & Tourism Marketing. Vol. 12 (1), pp. 81 – 95, 2002. (วารสาร)
[7] ศุภจิต สนิทวงศ์ ณ.อยุธยา และขวัญกมล ดอนขวา, ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการบริการของโฮมสเตย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, บทความสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ปีที่1, ฉบับที่ 3, หน้า 1-15, 2552. (วารสาร)
[8] พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุล. (3 พฤษภาคม 2560) การบริการอย่างมีคุณภาพ (Service Quality). สืบค้นจาก http://www.impressionconsult.com/ web/index.php/articles/161-servicequality.html. (เว็บไซต์)
[9] พิมล เมฆสวัสดิ์, ประเมินคุณภาพการบริการสํานักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 2550. (คู่มือ/รายงาน)
[10] Parasuraman, A. ,Zeithaml, V.A. & Berry, L.L., A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research, Journal of Marketing, 49 (Fall), pp. 41-50, 1985. (วารสาร)
[11] กิตติพงศ์ ชัยกิตติภรณ์ และอุบลวรรณา ภวกานันท์,การพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, ปีที่22,155-179, 2559.(วารสาร)
[12] Lee, S., Chua, B.L., & Han, H., Role of service encounter and physical environment performances, novelty, satisfaction, and affective commitment in generating cruise passenger loyalty. Asia Pacific Journal of Tourism Research, Vol. 22 (2), pp.1-16, 2016. (วารสาร)