แนวทางการพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ -

Main Article Content

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเด็นในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู และ3) ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 800 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ประเด็นในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ 1) ควรมีการติดต่อประสานงานกับคณะครุศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ 2) ควรมีการปฐมนิเทศให้แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง 3) ควรมีการมอบหมายงานและกำหนดครูพี่เลี้ยง 4) ควรมีการกำกับ ดูแล การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา 5) ควรมีการพัฒนาครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาร่วมกัน 6) ควรมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาวิชาชีพครู 7) ควรมีการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 8) ควรมีความพร้อมความเต็มใจให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันในเครือข่าย 9) ควรมีการยอมรับซึ่งกันและกัน และ10) ควรมีการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรบุคคล วัสดุ และอุปกรณ์การเรียนการสอนร่วมกัน 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 3.91, S.D = 0.49 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ๆ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า ด้านการบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x}= 4.07, S.D = 0.79 และ3) ผลการวิเคราะห์เกณฑ์มาตรฐานในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 4.12, S.D = 0.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ๆ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า ด้านวิชาการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x}= 4.30, S.D = 0.39

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553,กระทรวงศึกษาธิการ, 2553.

2. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552–2561), สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2554.

3. Yamane, T., Statistics: An introductory analysis, Harper and. Row, 1973.

4.วราภรณ์ สิทธิวงศ์, “การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์,”วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาชีวศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.

5. ปัทมา ทุมาวงศ์, “การวิเคราะห์รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือของครูในโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี :การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เครือข่ายสังคม,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

6. วิชิต สุรัตน์เรืองชัย, “ผลการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครูของนิสิตศึกษาศาสตร์,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2546.

7. วาโร เพ็งสวัสดิ์. “การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู,” วารสารวิทยบริการ., ปีที่ 11, ฉบับที่ 3, หน้า 1-17, 2543.

8. นันทรัตน์ ศรีนุ่นวิเชียร, “ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรงสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร,” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

9. Baumfield, V. and M. Butterworth, “Creating and translating knowledge about teaching and learning in collaborative school-university research partnerships: An analysis of what is exchanged across the partnership, by whom and how,” Teachers and Teaching : Theory and Practice 13(4), pp. 411-427, 2007.

10. Kubiak, C. and J. Bertram, “Network leadership as a balancing act: Contrivance or emergence,” Forum for promoting 3-19 comprehensive education 47(1), pp. 8-11, 2005.

11. Schulz, K.P. and S. Geithner, “Between exchange and development: Organizational learning in schools through inter-organizational networks, Learning Organization 17(1), pp. 69-85, 2010.