แนวทางการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วยรูปแบบทางศิลปะการแสดง กรณีศึกษา : เทศกาลงานไหว้ครูมวยไทยโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เขียนเพื่อศึกษารูปแบบแนวทางการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยรูปแบบทางศิลปะการแสดง โดยการจัดกิจกรรมศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทยหรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามวยไทย ใช้วิธีศึกษาข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประกอบกับสื่อดิจิทัล


               โดยรูปแบบการดำเนินกิจกรรม จัดโดยการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างกระแสให้เกิดการรับรู้ถึงความเป็นประเทศไทยภายใต้แนวคิด Amazing Thailand โดยมี Festivities เป็นหนึ่งในแนวคิด โดยกำหนดรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว ที่มีชื่อว่า “เทศกาลไหว้ครูมวยไทยโลก” เน้นรูปแบบการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว นำเสนอโดยใช้ด้านศิลปะการแสดง ควบคู่ไปกับการนำเสนอความเป็นตัวตนของคนไทย วิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์ ได้ดำเนินการร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสมาคมสถาบันศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย     จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 15 ในปีพ.ศ.2562 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปีโดยถือเป็นวันมวยไทย และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วมงาน จำนวน 57 ประเทศทั่วโลก โดยผู้เข้าร่วมสามารถ เพื่อให้ต่างชาติและชาวไทยได้ร่วมทำกิจกรรมด้วยตนเองทั้งนี้ “เทศการไหว้ครูมวยไทยโลก” ยังได้รับรางวัล Gold Award 2011 ในการประกวดรางวัล PATA Gold Award 2011 ของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Pacific Asia travel Association – PATA) ประเภทวัฒนธรรม ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. กำจร สุนพงษ์ศรี, สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.

2. บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, หจก.เฟริ้นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, นนทบุรี, 2560.

3. ณัฐนันท์ ศิริเจริญ, สุนทรียศาสตร์เพื่อนิเทศศาสตร์, โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สมุทรปราการ, 2552.

4. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 – 2564 สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพมหานคร, 2560.

5. อุทัย ปริญญาสุทธินันท์, การจัดการชุมชน, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

6. บังอร บุญปั้น, “กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม และแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,” วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ปีที่ 8,ฉบับที่ 1, หน้า 103–111, 2561.

7. มัทนี รัตนิน, ศิลปะการแสดงละคร หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม,พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร, 2559.

8. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และฉัตยาพร เสมอใจ, การจัดการ, บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพมหานคร, 2547.

9. ชาญณรงค์ สุหงษา, คู่มือการสอนมวยไทย, บรรณกิจกรุงเทพมหานคร, 2554.

10. ศึกเดช กันตามระ, แม่ไม้ มวยไทย, สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

11. แสวง วิทยพิทักษ์, สัมภาษณ์โดยตรีธวัฒน์มีสมศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2559 , 2562.

12. วรรณพิมล อังคสิริสรรพ, มายาคติ, สำนักพิมพ์คบ ไฟ, กรุงเทพมหานคร, 2544.

13. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, บริษัทนานมีบุ๊ค, กรุงเทพมหานคร, 2546.

14. วิโรจน์ ศรีสิทธิ์เสรีอมร, สัมภาษณ์โดยตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562, 2562.

15. การีม พัฒนา, สัมภาษณ์โดยตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562, 2562.

16. เจตธำรงค์ เศรษฐี, สัมภาษณ์โดยตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562, 2562.