ศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุดถนอม ตันเจริญ

บทคัดย่อ

               การศึกษาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลวิสาหกิจชุมชน คัดเลือกวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพ และศึกษาองค์ประกอบด้านศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานราชการระดับจังหวัด อำเภอและท้องถิ่น ประกอบกับการการสนทนากลุ่มกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนครอบคลุม 13 ตำบลของอำเภออู่ทองเพื่อคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตามองค์ประกอบเชิงทฤษฎีและผลการวิจัยศักยภาพชุมชนในพื้นที่อื่นของประเทศไทย พบว่า วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ตำบลจรเข้สามพัน เป็นกลุ่มที่มีองค์ประกอบด้านศักยภาพครบถ้วนมากที่สุด ได้แก่ การมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงของประธานวิสาหกิจชุมชน การยึดมั่นกับการรณรงค์และอนุรักษ์ภูมิปัญญาเกษตรอินทรีย์ มุ่งมั่นด้วยพลังแห่งการสร้างชุมชนเกษตรอินทรีย์กับเป้าหมายการสร้างสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เรียนรู้จากการปฏิบัติและรับความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา มีการกระตุ้นทางปัญญาด้วยความรู้และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ สั่งสมองค์ความรู้ ภูมิปัญญา จัดการกระบวนการเรียนรู้และเครือข่ายได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการสนับสนุนของภาครัฐ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานดีขึ้น จำนวนสมาชิกและเครือข่ายเพิ่มขึ้น ยอดขายมากขึ้น กองทุนของสมาชิกและชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. วิทยา จันทร์แดง และจำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2) หน้า 23-40, สืบค้นจาก http:// research. kpru.ac.th/old/Joumal_HSS/images/TGT/2555/pats2/3.pdf

2. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี. (20 กรกฎาคม 2560). อู่ทองอู่อารยธรรมสุวรรณภูมิ. สืบค้นจาก http://www.suphan.biz/utongnews01. htm

3. กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (19 กรกฎาคม 2560). สืบค้นจาก http://smce.doae. go. th/Product Category/SmceCategory. php? region_id=&province_id=72&hur_id=09& key_word=

4. Kotler, P., Marketing management: Analyzing consumer marketing and buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall, 2000.

5. สัญญา เคณาภูมิ, “แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม,” วารสารวิชาการแพรวา กาฬสินธุ์, ปีที่ 2, ฉบับที่ 3, หน้า 53-66, 2558.

6. มาลินี ศรีไมตรี, “การพัฒนารูปแบบและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่นักท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, หน้า 53-65, 2559.

7. ฐานันท์ ตั้งรจิกุล, รัสมนต์ คำศรี, พาฝัน รัตนะ และ ไอริณ สกุลศักดิ์, “ศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผ้าทอหมื่นศรี จังหวัดตรัง” การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, มิถุนายน 2559, หน้า 160-171.

8. Bass, B.M. and Riggio, R. E., Transformational Leadership. 2nd ed. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, 2006.

9. Covey, Stephen R., The 8th Habit: From Effectiveness to Greatness. New York: Simon & Schuster, 2004.

10. สุดถนอม ตันเจริญ, “การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น,” การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2558 ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ, มิถุนายน 2559, หน้า 115-125.

11. ชวน เพชรแก้ว, ชุมชนไม้เรียง: การจัดการแบบพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: สํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส), 2547.