โครงการปรับปรุงโครงสร้าง Rightsizing ของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2562

Main Article Content

เสน่ห์ จุ้ยโต

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างที่เหมาะสมของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ   คือ 1) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดให้สอดคล้องต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด  2) เพื่อจัดอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดที่มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่  การวิจัยนี้ใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนา ประชากรการวิจัยคือ คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด 10 คน  กลุ่มตัวอย่างมี 5 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และเอกสารโครงสร้างการบริหาร และอัตรากำลังคนของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ควรปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดใหม่ให้สอดคล้องต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด โดยปรับเพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารหน่วยงานภายในเป็น 8 ฝ่าย  ได้แก่ ฝ่ายบริหารกลาง ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายจัดซื้อวัตถุเสพติด ฝ่ายขายวัตถุเสพติด   ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายนโยบายและแผนงาน ฝ่ายตรวจสอบภายใน  2) ควรจัดอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดตามที่มีการปรับปรุงใหม่ 8 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารกลาง 10 อัตรา ฝ่ายการเงินและบัญชี 13  อัตรา ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ 5 อัตรา ฝ่ายจัดซื้อวัตถุเสพติด 12 อัตรา ฝ่ายขายวัตถุเสพติด 24 อัตรา ฝ่ายกฎหมาย 2 อัตรา ฝ่ายนโยบายและแผนงาน 5 อัตรา ฝ่ายตรวจสอบภายใน 2 อัตรา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. แผนยุทธศาสตร์กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด พ.ศ.2560-2564

2. เสน่ห์ จุ้ยโต, องค์การทริปเปิ้ลเอช: ตัวแบบใหม่การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ, โครงการส่งเสริมการแต่งตำริ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 2558

3. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, กรอบมาตรฐานความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรบุคคล 5 มิติ: การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (HR Scorecard), 2547
4. เสน่ห์ จุ้ยโต, กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารทุนมนุษย์ โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 2556

5. เสน่ห์ จุ้ยโต, “องค์การสมัยใหม่: ตัวเเบบห้าเอส, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2545 หน้า 48-55.

6. เสน่ห์ จุ้ยโต, การฝึกอบรมเชิงระบบ: Triple Five Model, โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2559

7. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, คู่มือการพัฒนาสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก, 2553

8. เสน่ห์ จุ้ยโต, องค์การสมัยใหม่สู่องค์การสมรรถนะสูง, โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 2559