การสื่อสารความเชื่อจากสัญญะในพิธีกรรมของศิลปินพื้นบ้าน ละครเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สมพงษ์ เส้งมณีย์
รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น
สริยาภา คันธวัลย์
บวรสรรค์ เจี่ยดำรง
จำเริญ คังคะศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมของศิลปินพื้นบ้านละครเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี และ (2) วิเคราะห์การสื่อสารความเชื่อจากสัญญะในพิธีกรรมของศิลปินพื้นบ้านละครเท่งตุ๊ก เป็นงานวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาโดยเก็บข้อมูลกับศิลปินคณะละครเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 คน ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบฝังตัว สังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมของศิลปินละครเท่งตุ๊ก คือ พระฤๅษีนารท หรือพระภรตมุนี (พ่อแก่) และครูละครเท่งตุ๊กผู้ล่วงลับ บางคณะละครเชื่อครูหมอโนรา โดยการตอบสนองความเชื่อผ่านพิธีกรรมไหว้ครูละครเท่งตุ๊กทุกปี ซึ่งเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ผสมผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ และ (2) การสื่อสารความเชื่อของศิลปินเท่งตุ๊ก (2.1) สามารถวิเคราะห์ได้ตามองค์ประกอบการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสาร เนื้อหาสาระ ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร และผลกระทบจาการสื่อสารความเชื่อ โดยเกิดการสื่อสารความเชื่อ 2 ระดับ คือ การสื่อสารความเชื่อภายในบุคคล  และการสื่อสารระหว่างบุคคลภายในกลุ่มศิลปินเท่งตุ๊ก  (2.2) สัญญะในพิธีกรรมการไหว้ครูของละครเท่งตุ๊ก พบว่า (2.2.1) สัญญะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สะท้อนความเชื่อเรื่องครู หมายถึง การแสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในฐานะ “ครู” ผู้ถ่ายทอดศิลปะการแสดงละครเท่งตุ๊ก พิธีกรรมการไหว้ครูจึงเป็นสัญญะที่แสดงถึงการตอบแทนครูด้วยความกตัญญูกตเวทิตา การสำนึกในหน้าที่ของศิษย์ การสร้างความสามัคคี การให้อภัย และการอุทิศส่วนกุศลให้ครู (2.2.2) สัญญะเครื่องสักการะสังเวยบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยอาหารคาว-หวาน พืช-ผลไม้ หมายถึง การจัดเลี้ยงแสดงความขอบคุณสำนึกในคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้เป็น “ครู” ของละครเท่งตุ๊ก โดยหวังว่าจะได้รับความสุข และความอุดมสมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2555). สื่อเก่า-สื่อใหม่: สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

คมลักษณ์ ไชยยะ. (2561). พื้นฐานแนวคิดสัญวิทยาของโรล็องด์ บาร์ตส์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), หน้า 27-60.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิงชัย วิชิตกุล. (2550). ภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในพิธีไหว้ครูดนตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

ทิพย์พธู กฤษสุนทร. 2561). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ตำบลฟ้าฮ่ามอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(1). หน้า 41-49.

บุญลือ วันทายนต์. (2553). สังคมวิทยาศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประภาศรี ศรีประดิษฐ์. (2545). ละครเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา. (2561). การสื่อสารความเชื่อเพื่อการดำรงอยู่ของศิลปะการแสดงพื้นบ้านละครชาตรีเท่งตุ๊กจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

โรล็องด์ บาร์ตส์. (2547). มายาคติ. แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

ศุภวัฒน์ วัฒนภิโกวิท. (2553). มายาคติกับความเชื่อทางวัตถุในพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

สุปรียา หัสชู. (2553). ลักษณะพิธีกรรม ความหมายเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ และบทบาทของเซียมซีในสื่อออนไลน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ไอยเรศ บุญฤทธิ์. (2559). วัตถุทางมงคลดนตรีไทยในสังคมร่วมสมัย: การสร้างความหมาย และบทบาท

(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

Businesstopia. (2018). Lasswell’s Communication Model. Retrieved from

https://www.businesstopia.net/communication/lasswell-communication-model

Chandler, D. (2002c). Detonation, connotation and myth: Semiotics for beginners. Retrieved from http://www.aber.ac.uk/media/Documents/S4B/sem06.html

Elwell, F. W. (2003). Emile Durkheim on Religion. Retrieved from http://www.faculty.rsu.edu/~felwell/Theorists/Essays/Durkheim2.htm

Lasswell, H. D. (2006). The Structure and Function of Communication in Society. Communication theory-Critical concepts in media and cultural. 1. pp. 84-95

Wood, J. T. (2000). Communication in our lives (2nd ed.). California : Wadsworth