การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษาเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของเขื่อนกิ่วลม และ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภายในกรมชลประทานและประชาชนในท้องถิ่นจำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของเขื่อนกิ่วลม ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการล่องแพ กิจกรรมการตกปลา และกิจกรรมการปีนผา ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พบว่าประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของเขื่อนกิ่วลมทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน คือ 1) ด้านการตัดสินใจ ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวและการจัดการการท่องเที่ยวภายในเขื่อน 2) ด้านการปฏิบัติงานโครงการ ประชาชนในท้องถิ่นได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการของหน่วยงานภาครัฐในทุกมิติทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวหรือการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่การท่องเที่ยวต่าง ๆ 3) ด้านการรับผลประโยชน์ ประชาชนในท้องถิ่นได้รับรับผลประโยชน์ อยู่สองลักษณะ ได้แก่ การรับผลประโยชน์จากกิจกิจรรมการท่องเที่ยวภายในเขื่อน และผลประโยชน์ด้านการใช้น้ำ เพื่อการประกอบเกษตรกรรม 4) ด้านการประเมินผล คือ กิจกรรมทางด้านการท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมชลประทาน และกรมธนารักษ์ เป็นต้น ที่เข้ามารับผิดชอบและเป็นผู้ประเมิน ส่วนประชาชนในท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมในการประเมิน คือ การเข้าร่วมประชุมและเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านการดำเนินงานโครงการของหน่วยงานภาครัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
เจ้าหน้าที่ภายในกรมชลประทานลำดับที่ 2. ผู้ให้สัมภาษณ์. 2562.
เจ้าหน้าที่ภายในกรมชลประทานลำดับที่ 3. ผู้ให้สัมภาษณ์. 2562.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบัน: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ไพริน เวชธัญญะกุลและคณะ. (2559). การพัฒนามาตรฐานแพที่พักแรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนบริเวณเขื่อนในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พรินติ้ง.
ดอน นาครทรรพ. (2558). มองภาพใหญ่ท่องเที่ยวไทย 2558 ทิศทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย โอกาสและอนาคตของธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และปัทมา สูบกำปัง. (2554). รายงานการศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์.
ประชาชนในท้องถิ่นลำดับที่ 1. ผู้ให้สัมภาษณ์. 2562.
ประชาชนในท้องถิ่นลำดับที่ 2. ผู้ให้สัมภาษณ์. 2562.
ประชาชนในท้องถิ่นลำดับที่ 3. ผู้ให้สัมภาษณ์. 2562.
ประชาชนในท้องถิ่นลำดับที่ 5. ผู้ให้สัมภาษณ์. 2562.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2539). โครงการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี. (2554). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. กาญจนบุรี: สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ และทบวงมหาวิทยาลัย. (2546). รายงานการสังเคราะห์สารนิพนธ์บัณฑิตกองทุน หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.
อิทธิพล โกมิล. (2553). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษา บ้านวังน้ำมอก จังหวัดหนองคาย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กระทรวงวัฒนธรรม.
Cohen, John, & Upholf, Norman T. (1980). Participation's in rural development: Seeking clarity through Specificity. World Development, 8(3), pp. 213-235.