การศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง: กรณีศึกษา ตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง: กรณีศึกษาตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม” นี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อสร้างฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งในจังหวัดนครปฐมในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่ออนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ชาวลาวโซ่งตำบลบางปลา จังหวัดนครปฐม ซึ่งประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้อาวุโสของหมู่บ้าน ครู เจ้าอาวาส กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มหนุ่มสาว เยาวชน และผู้นำในการประกอบพิธีกรรม เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ที่ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ลาวโซ่งในตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นกลุ่มลาวโซ่งที่อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ปัจจุบันลาวโซ่งตำบลบางปลาตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่ใน 4 หมู่บ้าน คือ บ้านเกาะแรต (หมู่ 11) บ้านเกาะแรต (หมู่ 12) บ้านเกาะแรตพัฒนา (หมู่ 14) และบ้านเกาะแรตท่าสาร (หมู่ 15) กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งในพื้นที่ที่ศึกษายังคงรักษาวัฒนธรรมซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของตนไว้ได้เป็นอย่างดีทั้งภาษาพูด การแต่งกาย อาหาร และประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีเสนเรือนหรือพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างเคร่งครัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กานต์ทิตา สีหมากสุก. (2558). วิเคราะห์ปัจจัยการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในพิธีกรรมของไทยทรงดำ : กรณีศึกษาเขตตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
กำจร เพชรยวน. (2561, 28 มิถุนายน). ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 [บทสัมภาษณ์.]
ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2556). คู่มือการพัฒนาทักษะการวิจัยชุมชนด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (Rapid Ethnographic Community Assessment Process: ECAP). ขอนแก่น: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสนับสนุนสุภาวะชุมชน (สำนัก 3) ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จำปี เพชรแอง. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
ฉอ้อน มณีการังกูร. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
ทน ออสูนย์. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
นิด เพชรแอง. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
นุกูล ชมภูนิช. (2532) การศึกษาประเพณีของชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านเกาะแรต. [ม.ป.ท. : ม.ปพ.]
ใน เพชรยวน. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
บังอร ปิยะพันธุ์. (2529). ประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวลาวในหัวเมืองชั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
เฟื้อง เพชรแอ. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
มิน ทองใบ. (2561, 10 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
เรณู เหมือนจันทร์เชย. (2557). ทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ละออ เพชรยวน. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2559). ลาวในเมืองไทย กลุ่มชาติพันธุ์ที่คลุมเครือ. สืบค้นจาก https://lekprapai.org/home/view.php?id=790
วิชชุพันธ์ ไทยโพธิ์ศรี. (2553). การปรับตัวและการดำรงอยู่ของชุมชนลาวโซ่งกรณีศึกษาบ้านเกาะแรต อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สมทรง บุรุษพัฒน์ และคณะ. (2554). การใช้ภาษาและทัศนคติต่อภาษาและการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สะดวก พรหมมืด. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (ม.ป.ป.) ข้อมูลแปดชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี สืบค้น 28 มิถุนายน 2561, จาก http://culture. mcru.ac.th/8-th/th_back.php
เหลือง เพชรสาด. (2561, 28 มิถุนายน). [บทสัมภาษณ์].
องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561– 2565). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
NorNui P, นามแฝง. (2013). สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561 จาก https://www.youtube.com/watch?v=YUD_IOCXQU0