การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับนักศึกษา ปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย

Main Article Content

กิตติคุณ รัตนเดชกำจาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ที่มีต่อการเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน (56 คน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ห้อง 2 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย  ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t – test for Dependent Samples) การหาค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 คือมีค่าเท่ากับ 76.17/75.12

  2. 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ ของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ที่เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 พบว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน ( = 22.5357, S.D. = 1.87542) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 7.1429, S.D. = 2.06764) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. 3. นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย มีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KR.3 ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับความเป็นครูวิชาชีพอย่างละเอียดลึกซึ้ง ช่วยพัฒนาการเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน สามารถนำประสบการณ์ไปใช้ในการฝึกสอนได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติคุณ รัตนเดชกำจาย. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KR.2 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับอุดมศึกษา รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย. สุโขทัย : เปเปอร์ก๊อปปี้.

กิตติพงษ์ พุ่มพวง และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. journal of Education Naresuan University, 20(2), 1-11.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2556). คู่มือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556. สืบค้น 27 มีนาคม 2562, จาก http://hugiswh.lpru.ac.th/human/views/assets/document_download/ hum/man_hum_56_1.pdf.

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา รายวิชา 241307 กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามตัวบ่งชี้การสอนที่เน้นผู้เรียนสําคัญ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(3), 77–89.

เบญจา วงษา, พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และสร้อยสน สกลรักษ์. (2554). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของ เอ็นนิส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวทยาลัยราชภัฏ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13 (3) , 43 – 55.

พรหทัย ตัณฑ์จิตานนท์. (2561). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพลิน (PLEARN) ที่มีประสิทธิผลต่อการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในประชาคมอาเซียนของเยาวชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13 (2), 82–94.

พวงผกา วรรธนะปกรณ์ และโสภณ ผลประพฤติ. (2557). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดวยวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ วิชาสัมมนาวิชาชีพ ดานมัลติมีเดียของนักศึกษาชั้นปที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์. วารสาริชาการ มทร.อีสานฉบับมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 1(1), 66–72.

ยุพิน อินทะยะ และวลัยพร ทองหยอด. (2561). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการประเมินผลตาม สภาพจริง โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา 2. 3 มิถุนายน 2563, จากhttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1483.

วิสุทธิ์ ไพเราะ. (2556). การเรียนปฏิบัติดนตรีในวิชาสังคีตนิยมแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิบัติเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด ระดับเบื้องต้นด้วยวิธีการสอนแบบโคดาย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 14 (25), 1-24.

สุชีรา มะหิเมือง และคณะ. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 26 มีนาคม 2562, จาก www.ssruir. ssru.ac.th/bitstream/ssruir/437/1/ 024-54.pdf.

Seels,Babara, and Zita Glasgow. (1990). Exercises in Instructional Design. Columbus, Ohio : Merrill Publishing Company.

Tomlinson, C.A. (2010). Differentiation and Brain: How Neuroscience Supports the Learner-friendly Classroom. Bloomington. IN: Solution Tree Press