ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลัง พ.ศ. 2475 : การตอบโต้ และปฏิกิริยา

Main Article Content

ศุภกาณฑ์ นานรัมย์

บทคัดย่อ

               สมเด็จพระเจ้าตากสินในการรับรู้ของชาวไทยถูกผูกขาดเนื้อหาการรับรู้ผ่านพระราชพงศาวดาร หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ความพยายามในการคลี่คลาย การตีความประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผลงานที่สร้างผลกระทบ คือ ผลงานของหลวงวิจิตรวาทการ ว่าด้วย “สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถหลบหนีจากการสำเร็จโทษได้สำเร็จไปประทับอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช” อันเกิดจากการตบแต่งเรื่องราวผ่านนิมิต ความเข้าใจดังกล่าวได้สร้างแรงบันดาลใจให้มีการผลิตผลงานในลักษณะเดียวกันนี้จนเกิดความบิดเบี้ยวของประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อสังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าประชาธิปไตย การให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน เหล่านี้ได้ผลักดันให้เกิดการผลิตผลงานที่ท้าทายกรอบแนวคิดที่มุ่งยกย่องเชิดชูพระมหากษัตริย์ เกิดงานที่ได้จากการตั้งคำถาม ความกล้าหาญในการงัดง้างชุดความรู้เดิม โดยใช้หลักฐาน เอกสารที่หลากหลายมาตีความใหม่ ดังเช่นผลงานของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” สะท้อนปฏิกิริยาทางสังคม รวมไปถึงการตอบโต้ชนชั้นนำซึ่งพยายามกลบฝังบทบาทของสมเด็จพระเจ้าตากสินในฐานะวีรกษัตริย์ การยกเอาสมเด็จพระเจ้าตากสินมาสร้างใหม่เป็นการนำเสนอภาพตัวแทนการมีส่วนร่วมของสามัญชนในการร่วมเป็นหนึ่งในการผลักดันสังคมให้ก้าวผ่านวิกฤตได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1.พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ฉบับหมอ บลัดเล, โฆษิต, 2551.

2.นิธิ เอียวศรีวงศ์, การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 11 มติชน, 2557.

3.ธนิต อยู่โพธิ์, นิพนธ์บางเรื่องของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการสมัยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร, 2501.

4.ปฐมพงษ์ สุขเล็ก, “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : เรื่องเล่า และการประกอบสร้างความหมาย,” ปริญญานิพนธ์เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555.

5.ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์, ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน? พิมพ์ครั้งที่ 4 ส่องศยาม, 2547.

6.พระองค์เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เจ้าชีวิต, คลังวิทยา, 2514.

7.นิธิ เอียวศรีวงศ์, กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย ว่าด้วย ประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์, พิมพ์ครั้งที่ 11 มติชน, 2557