การจัดการและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล
วรภัทร เมฆขจร
สราวุธ โรจนศิริ
ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้  1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และโอกาสในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชน 2) ศึกษาศักยภาพของพื้นที่ในการเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ 3) ศึกษาและสำรวจเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชนตำบลสาวชะโงก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนตำบลสาวชะโงกจำนวน 356 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์และโอกาสในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.28 ด้านโอกาสในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 ด้านศักยภาพในการเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยว พบว่า มีศักยภาพในการเชื่อมโยง คือ หมู่ที่ 1 บ้านสาวชะโงก หมู่ที่ 3 บ้านคลองสะเดา หมู่ที่ 4 บ้านบางหัวเลน หมู่ที่ 6 บ้านคลองบ้านหมู่ และเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชนตำบลสาวชะโงกมี 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองฉะเชิงเทรา ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา–นครราชสีมา ประมาณ 8 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองฉะเชิงเทรา ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา–นครราชสีมา ประมาณ 9.5 กิโลเมตร เส้นทางที่ 3 จากตัวเมืองฉะเชิงเทรา ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา–นครราชสีมา ประมาณ 11.5 กิโลเมตร เส้นทางที่ 4 จากตัวเมืองฉะเชิงเทรา ใช้ทางหลวงชนบทหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา–บางน้ำเปรี้ยว ประมาณ 4.5 กิโลเมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมการท่องเที่ยว (2555). คู่มือการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว.

2.รำไพพรรณ แก้วสุริยะ, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2543.

3.Yamane, Taro. (1973). Statics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.

4.พจนา สวนศรี, เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหน่วยที่ 8-15, นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2546.

5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2548). คู่มือการจัดการ: การท่องเที่ยวชุมชนและบ้านพักแบบโฮมสเตย์.
เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6.สัญญา สัญญาวิวัฒน์, การพัฒนาชุมชน พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2525.

7.ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล, ธีรพงษ์ ทศวรรษ, ภาคภูมิ ลบถม. การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมชุมชนตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชนครินทร์วิจัย ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2561. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

8.สัญญา สัญญาวิวัฒน์, ทฤษฎีสังคมวิทยา: เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2542.

9.สนธยา พลศรี, เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โอ. เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์. 2550.