ผลการใช้คำถามปลายเปิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อมโนทัศน์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลัง การใช้คำถามปลายเปิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความเท่ากันทุกประการและเส้นขนาน 2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่ใช้คำถามปลายเปิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความเท่ากันทุกประการและเส้นขนานกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 41 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ใช้คำถามปลายเปิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความเท่ากันทุกประการและเส้นขนาน และแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการและเส้นขนานที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวและแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) มโนทัศน์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังใช้คำถามปลายเปิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความเท่ากันทุกประการและเส้นขนาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) มโนทัศน์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้คำถามปลายเปิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความเท่ากันทุกประการและเส้นขนาน สูงกว่าเกณฑ์ (เกณฑ์ร้อยละ 70ของคะแนนเต็ม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2.อัมพร ม้าคนอง, คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
3.เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร, ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์ : หลักสูตร การสอน และการวิจัย, 2555.
4.หทัยรัตน์ ยศแผ่น, “ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
5.สายพิณ ล้ำเลิศ, “ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการ RMT ร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
6.นันธิยา ไชยสะอาด, “ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ, 2557.
7.Becker, J. P. and Shimada, S, “The Open-Ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics,” Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics, 1997.
8.หทัยรัตน์ ยศแผ่น, “ ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.