สมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง

Main Article Content

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูพี่เลี้ยงของนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปีการศึกษา 2563 ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน่ จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีข้อคำถามเกี่ยวกับสมรรถภาพ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิชาการความรู้ ด้านทักษะการสอน และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางวิชาชีพ รวมจำนวน 44 ข้อ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.30 - 0.73 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


                ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.09, S.D. = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง
อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางวิชาชีพ ( = 4.43,
S.D. = 0.44) ด้านทักษะการสอน ( = 3.96, S.D. = 0.51) และด้านวิชาการความรู้ ( = 3.83, S.D. = 0.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). สานสัมพันธ์ครูและผู้ปกครอง. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.kriengsak.com/node/1309.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2550). การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.

ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2563). จำนวนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปี 2563.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2547. (2547, 14 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. 2-3.

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2560). การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2542). การปลูกฝังความสำนึกทางสังคมในหมู่นิสิตนักศึกษาไทย. อุดมศึกษาวิพากษ์รวมบทวิเคราะห์วิจารณ์การอุดมศึกษาไทย. (3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดา พรมวัน. (2544). การศึกษาสมรรถภาพของครูสังคมศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดขอนแก่น(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สมจิต สวธนไพบูลย์ และคณะ. (2545). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคณาจารย์และชุดเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน สํานักนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี

สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล. (2556). กิจกรรมสร้างเสริมวินัยในตนเองของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุวิมล ว่องวานิช. (2544). การพัฒนามาตรฐานคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.

Cronbach. (1990). Essential of Psychological testing. New York: Haper Collins.

Yamane. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. New York: Harper & Row.