คุณภาพการบริการของงานบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

พัชรินทร์ ขำวงษ์

บทคัดย่อ

               งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของผู้มารับบริการต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของงานบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 134 คน เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของงานบุคลากรโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านความมีไมตรีจิต และด้านการติดต่อสื่อสารมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการรู้จักและเข้าใจผู้มารับบริการ  ด้านสมรรถนะ ด้านการเข้าถึงบริการ ด้านความไว้วางใจ ด้านความกระตือรือร้น ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความปลอดภัย และด้านลักษณะของการบริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้รับบริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประสบการณ์ในการทำงาน สายการปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีคุณภาพการบริการของงานบุคลากรไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ปราเมศร์ อุณหปาณี, “ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว เซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์,” วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 59-72, 2559.

2. พึงใจ ศรีเดช, “ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาชัยนาท,” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2553.

3. เกียรติคุณ จิรกาลวสาน, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้ให้บริการ: กรณีศึกษา การประปาส่วนภูมิภาค ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี,” การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2555.

4. Zeithaml, V. A., Parasuraman, A. and Berry, L. L., Delivering Quality Service : Balancing Customer Perceptions, The Free Press, 1990.

5. บุญชม ศรีสะอาด, หลักการวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 3, สุวีริยาสาสน์, 2535.

6. ไพฑูรย์ คุ้มคง, “ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี,” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.

7. ปวรรัตน เลิศสุวรรณเสรี, “ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์ ประจำปีการศึกษา 2555,” วิทยาลัยราชพฤกษ์, 2555.

8. นรารัตน์ อ่อนศรี, “คุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้าบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ แจ้งวัฒนะ,” การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.

9. วลัยพรรณ เตชะเบญจรัตน์, “ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการบริการ ของบริษัท ไอ เอ็น จี ประกันชีวิต ในจังหวัดเชียงใหม่,” การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
10. สยาม ชูกร, “คุณภาพการให้บริการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแพ้ว,” การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.

11. น้ำลิน เทียมแก้ว, “ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2555,”มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.

12. วาสินี มาลัย, “ประสิทธิภาพการให้บริการของสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,” วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1, หน้า 69-76, 2559.

13. พิณทิพ ทัศนา, “ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี,” ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.