สภาพแวดล้อมในการทำงาน ทัศนคติ แรงจูงใจในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กร ของพนักงานบริษัทเอกชนในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

อารยา สิงห์เดช
กิตติวงค์ สาสวด

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทัศนคติ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) ศึกษาความสัมพันธ์ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทัศนคติ แรงจูงใจ ที่ส่งผลต่อความภักดีของพนักงานบริษัทเอกชนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  และ 3) เสนอแนวทางการสร้างความภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชนในระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน  300 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพแวดล้อมในการทำงาน ทัศนคติ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความจงรักภักดีต่อองค์กร มีค่าเฉลี่ยระดับปัจจัยอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความจงรักภักดีต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และท้ายสุดด้านทัศนคติ 2) ความสัมพันธ์ของ ทัศนคติ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และแรงจูงใจในการทำงาน  สามารถอธิบายความภักดีได้ร้อยละ 90.90 ซึ่งเป็นการอธิบายความแปรปรวนของความจงรักภักดีได้ดีมาก  3) แนวทางการสร้างความภักดีต่อองค์กร องค์กรต้องปลูกฝังด้านทัศนคติที่ดีต่อองค์กรเพื่อสร้างความภักดีต่อองค์กร องค์กรต้องให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในการทำงานเพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้บุคลากรมีความสามารถในการทำงานและเป็นแนวทางในการสร้างความภักดีต่อองค์กร และความสามารถของผู้บริหารที่จะใช้แรงจูงใจที่เหมาะสม เพื่อเป็นสิ่งจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชามีความมุ่งมั่น และพร้อมที่จะทุ่มเทการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กรตลอดจนจะก่อให้เกิดความภักดีต่อองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Fletcher, G. P. , Loyalty: An essay on the morality of relationships, New York: Oxford University Press, 1993.

2. วิภา จันทร์หล้า, “ความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อบริษัทโตโยต้าโกเซ เอเชียจำกัดจังหวัดชลบุรี,” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

3. ภัทรพล กาญจนปาน, “จริยธรรมในองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และผลการดำเนินงานของการประปานครหลวง,”สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2552.

4. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0, สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2561 จาก https:// www.eeco.or.th. ,2561.

5. Raina P, O'Donnell M, Rosenbaum P, Brehaut J, Walter SD, Russell D, Swinton M, Zhu B, Wood E, The Health and Well-being of Caregivers of Children with Cerebral Palsy. Pediatrics, 2005.

6. Best, J. W. & Kahn, J. V. ,Research in Education, 5thed, New jersey, 1986.

7. ศิริชัย พงษ์วิชัย, การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

8. ชูเกียรติ ยิ้มพวง, “แรงจูงใจที่มีผลต่อกี่ปฏิบัติงานกรณีศึกษาบริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด โรงงานจังหวัดปทุมธานี,” การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.

9. ธรินทร์ มาลา, “วัฒนธรรมองค์การ สภาพแวดล้อมในการทางาน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์การ,”สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557.