การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บนแพลทฟอร์มกูเกิ้ล โรงเรียนวัดดงข่อย จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

เพ็ญศิริ ใจวัน
เจษฎา แสงจันทร์

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอน และองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดดงข่อย จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดงข่อย จังหวัดพิษณุโลก และ 3) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อน-หลังเรียนผ่านระบบการจัดการองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดงข่อย จังหวัดพิษณุโลก และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบการจัดการองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากร คือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดดงข่อย จังหวัดพิษณุโลก  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 53 คน  เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้อำนวยการและครู แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อระบบการจัดการองค์ความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดงข่อย คือ โรงเรียนมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้เนื้อหาความรู้ใน 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านวัฒนธรรม มิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม และมิติด้านวัตถุ  2) ระบบจัดการองค์ความรู้พัฒนาจากชุดแอปพลิเคชันบนระบบคาวด์ของ Google ได้แก่ Google site, Google form, Google และ Google classroom 3) ผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนผ่านระบบสูงกว่าก่อนเรียน และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อระบบ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฎฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:ความเป็นมาและความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร :

สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ธนวรรณ เจริญนาน. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย GOOGLE CLASSROOM เรื่องการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยไมโครซอฟเพาเวอร์พ้อย

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ปราโมทย์ สิทธิจักร และวิไรวรรณ แสนชะนะ. (2560). การพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นผ่าน

อุปกรณ์เคลื่อนที่. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 11(2), 59-82.

โรงเรียนวัดดงข่อย. (2563). ผลการสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการสื่อการเรียนรู้ โรงเรียนวัดดงข่อย. พิษณุโลก : โรงเรียนวัดดงข่อย.

โรงเรียนวัดดงข่อย. (2563). รายงานการประเมินตนเองระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดงข่อย. พิษณุโลก : โรงเรียนวัดดงข่อย.

วิไลวรรณ วงศ์จินดา สุวิมล พิบูลย์ และอนันท์ คัมภิรานนท์. (2564). แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาขาวิชาทางการ

ศึกษา. สุพรรณบุรี : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สุมาลี ชัยมงคล อิศรา ก้านจักร จารุณี ซามาตย์ และปรมะ แขวงเมือง.(2559). การอกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนที่บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คุณธรรมและค่านิยมไทยสำหรับการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 110-117.

สุรศักดิ์ ทิพย์พิมล. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น

ฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

อรวรรณ ป้อมดำ. (2561). การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ลพบุรี เขต 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Elfeky, A.I.M. and Masadeh, T.S.Y. (2016). The Effect of Mobile Learning on Students' Achievement and Conversational Skills.

International Journal of Higher Education. Canada: Sciedu Press.