การพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

Main Article Content

จุฑารัตน์ โพธิ์หลวง

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้แอปพลิเคชันกูเกิลคลาสรูม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และ 3) เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชั้นปีที่ 1-5 ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์พร้อมแบบฝึกคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ แบบสำรวจทัศนคติและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาพรวมทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.721) สอดคล้องกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีการแสดงความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในเชิงบวกเป็นหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัฏฐิกา สุนทรธนพล. (2562). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิลคลาสรูม รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 21 (1), 73-86.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 2(3), 1-7.

วิจิตรา โสเพ็ง. (2562). การศึกษาเจตคติและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารครุพิบูล, 6(1), 77-87.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2563). สถิติการคงอยู่และพ้นสภาพการศึกษาระดับปริญญาตรีเต็มเวลา จันทร์-ศุกร์ ปีการศึกษา 2563 คณะครุศาสตร์. สืบค้นจากhttp://acad.vru.ac.th/about_acad/FTES/2563/std_chart_nm_63_01.pdf

สิตา ทายะติ. (2551). การใช้กิจกรรมเว็บเควส เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความสามารถทางการพูดนำเสนอของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2546). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อมรรัตน์ เศษฤทธิ์. (2563). การใช้ Google Classroom ในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ครุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 65-74.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Kentnor, H. (2015). Distance Education and the Evolution of Online Learning in the United State. Curriculum Teach Dialogue, 17 (1&2), 21-34.

Kuder, G.F. & Richardson, M.W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2 (3), 151-160.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill Book.

Wilkin, D.A. (1972). Linguistics and Language teaching. London: Edward Arnold.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd edition). New York: Harper and Row Publications.