ความเหมาะสมในการกำหนดความรับผิดรายบุคคล : ศึกษากรณีความผิด ฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรม

Main Article Content

วัชรภัทร ด่านคงรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ที่แท้จริง องค์ประกอบความผิด และหลักเกณฑ์ในการกำหนดความรับผิดรายบุคคลสำหรับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมตามระบบกฎหมายไทย
โดยเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายอังกฤษ อเมริกัน (เฉพาะมลรัฐแคลิฟอร์เนีย) ฝรั่งเศส และเยอรมัน เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดรายบุคคลในความผิดดังกล่าวที่เหมาะสมกับระบบกฎหมายไทย ผลการวิจัยพบว่า ความผิดดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกล่วงล้ำมากกว่าหนึ่งครั้งโดยผู้กระทำหลายคน และคำว่า “อันมีลักษณะเป็นการโทรม” ถือเป็นเงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย โดยความผิดดังกล่าวประกอบด้วยการกระทำ 2 ส่วน คือ การร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราในลักษณะที่เป็นตัวการและการผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งหลักเกณฑ์ของศาลฎีกาที่นำมาใช้ในการกำหนดความรับผิดรายบุคคลบางกรณีเป็นการตีความโดยขยายความที่ขัดกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของความผิดดังกล่าว และบางกรณีเป็นการขยายหลักการเป็นตัวการเพื่อนำมาปรับใช้กับผู้กระทำ
คนที่สามซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วนในการลงโทษและทฤษฎีนายเหนือการกระทำความผิด เมื่อเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายต่างประเทศข้างต้น พบว่า ระบบกฎหมายไทยมีแนวการวินิจฉัยที่แตกต่างและเคร่งครัดที่สุด จนกล่าวได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดของไทยโดยแท้ ดังนั้น เพื่อลบล้างแนวการวินิจฉัยที่เป็นบรรทัดฐานของศาลฎีกา
ในส่วนที่ว่าด้วยการผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของความผิดดังกล่าว จึงควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสาม และศาลไทยควรปรับใช้หลักการเป็นตัวการเฉพาะกรณีที่ผู้กระทำ
คนที่สามได้กระทำการใกล้ชิดกับความเสียหายที่ผู้เสียหายจะได้รับจากการถูกล่วงล้ำ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติ ติงศภัทิย์. (2553). คำอธิบาย ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 7). บริษัท ศูนย์การพิมพ์

เพชรรุ่ง จำกัด.

ธรรมนิตย์ วิชญเนตินัย. (2504). พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการโทรมหญิง. ดุลพาห, 8(9), 973-976.

ภาสกร ญาณสุธี. (2553). คำอธิบายและการต่อสู้คดีข่มขืน อนาจาร พรากผู้เยาว์. นิติธรรม.

มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. (2482). ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตาม

ฉะบับหลวงตรา 3 ดวง เล่ม 2. มหาวิทยาลัย.

มานิตย์ สุธาพร. (2529). พยายามโทรมหญิงมีได้หรือไม่. บทบัณฑิตย์, 42(3), 1-8.

ฤทัย หงส์สิริ. (2537). ข้อสังเกตจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่อง “โทรมหญิง”. อัยการ, 17(196), 1-6.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2485). รายงานการประชุมอนุกรรมการตรวจพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา

ครั้งที่ 279/63/2485 วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2485.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2499). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 13/2499 (สามัญ) ชุดที่ 1

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2499.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (2551). ผู้กระทำความผิดและการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน.

ดุลพาห, 55(3), 192-207.

หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญาภาค 2-3 (ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ บรรณาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 11, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หยุด แสงอุทัย. (2554). กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง. (2525). หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2525. เนติบัณฑิตยสภา.

Hirsch, A. v., & Ashworth, A. (2012). Proportionate Sentencing: Exploring the Principles. Oxford University Press.

Judicial Council of California. (2020, October). CALCRIM No. 1001. Rape or Spousal Rape in Concert (Pen. Code, § 264.1). https://www.justia.com/criminal/docs/calcrim/1000/1001/

Krebs, B. (2015). Criminal Enterprise in English and German Law [Doctoral Thesis, University of Oxford]

Oxford University Research Archive (ORA). https://bit.ly/3i4d4mC

Marguery, T. (2018). France. In L. Peters (Eds), Acting together in crime : a comparative analysis of joint perpetration of and assistance to criminal offences under French, German, Austrian and Italian criminal law in light of five Dutch Supreme Court cases (pp. 77-102) Eleven International Publishing.

Rinceanu, J. (2018). Germany. In L. Peters (Eds), Acting together in crime : a comparative analysis of joint perpetration of and assistance to criminal offences under French, German, Austrian and Italian criminal law in light of five Dutch Supreme Court cases (pp. 104-111) Eleven International Publishing.

Sentencing Council. (2014, April 1). Sentencing Guideline for use in Crown Court : Rape.

https://www.sentencingcouncil.org.uk/offences/crown-court/item/rape/