ภูมิศาสตร์กับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: ภาพตัวแทนกลุ่มคนในประวัติศาสตร์เมืองกระบี่ ยุคต้นรัชกาลที่ 6 ในวรรณกรรมนิราศเมืองกระบี่

Main Article Content

อามานี อาบูดอแล
พิเชฐ แสงทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาภาพตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมืองกระบี่ที่นำเสนอในนิราศเมืองกระบี่ การศึกษาพบว่า วรรณกรรมนิราศนำเสนอภาพของผู้คนในเมืองกระบี่ประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย กลุ่มคนเหล่านี้แสดงบทบาททางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวิถีการดำรงอยู่ที่แตกต่างกัน อันสื่อให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ กวีนำเสนอภาพแทนผ่านการมองเห็น ความทรงจำ และการนัยประหวัด โดยเชื่อมโยงอัตลักษณ์เข้ากับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันของกลุ่มชาติพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ขุนสมานนุกรกิต. “นิราศเมืองกระบี่”, 50260001, สถาบันคดีทักษิณสงขลา. 1-148.

ชุ่มเมือง ทีปกรกุล. (2523). วรรณกรรมนิราศ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครราชสีมา: ตราเสือการพิมพ์.

เตช บุนนาค. (2532). การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458 : กระทรวงมหาดไทยสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรางราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นริศรานุวัดติวงศ์. (2540). จดหมายระยะทางไปตรวจราชการ แหลมมลายู ร.ศ.121. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

บงกชรัตน์ เตชะไตรศักดิ์. (2541). ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประเทือง เครือหงส์. (2524). ชาวน้ำ (ชาวเล) ในเมืองไทย. กรุงเทพ: บูรพาศิลป์การพิมพ์.

พิเชฐ แสงทอง. (2545). ศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมชุมชมของชาวนา บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในวรรณกรรมนิราศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

__________. (2559).วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 3).พัทลุง: ศูนย์ทะเลสาบ.

__________. (2564). ณ ธรณีประตูแห่งสมัยใหม่: การกลายเป็น “สยามยุคใหม่” ของหัวเมืองใต้ ในทศวรรษ 2440-2460. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 4 (1), 294-326.

วิมลมาศ ปฤชากุล. (2550). อัตลักษณ์พื้นถิ่น ในบันเทิงคดีภาคใต้ [พ.ศ.2522-2546]. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สถาบันพระปกเกล้า. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2547). เปิดปกบุดขาวสาวดูผู้หลวก มองผ่านวรรณกรรม เรื่อง พระปรมัตถ์คำกาพย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สุริชัย หวันแก้ว. (2546). กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช. (2502). จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.