ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจขายห้องชุด

Main Article Content

จราวุฒิ อำนักมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้สัญญามาตรฐานสำหรับการขายห้องชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจขายห้องชุดตามพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และหลักการกำกับดูแล   ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาในแต่ละประเด็นปัญหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ประกอบธุรกิจขายห้องชุดยกร่างสัญญาเพื่อใช้กับผู้ซื้อ โดยไม่ใช้สัญญามาตรฐานตามกฎหมายอาคารชุด เนื่องจากกฎหมายอาคารชุดเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาขึ้นได้ หากเห็นว่าเป็นคุณกับผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้ออาจได้รับความเสียหายจากสัญญาที่ทำโดยไม่ถูกต้อง ขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมายอาคารชุด 2. การใช้ระบบการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา หรือระบบเอสโครว์ต้องเกิดจากความสมัครใจของผู้ซื้อและผู้ขาย ฉะนั้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   ไม่ต้องการใช้ก็ไม่สามารถนำกฎหมายนี้มาบังคับใช้ได้ ผู้ซื้อจึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2551). กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

จราวุฒิ อำนักมณี. (2550). สัญญามาตรฐานสำหรับการขายห้องชุด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ. (2558). การคุ้มครองผู้บริโภคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 กรณีศึกษาแบบของสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุด. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2535). กฎหมายว่าด้วยสัญญา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาราพร ถิระวัฒน์. (2542). กฎหมายสัญญา : สถานะใหม่ของสัญญาปัจจุบันและปัญหาข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ต่อลาภ ไชยเชาวน์. (2549). ปัญหาสัญญามาตรฐานตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์. (2560). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2552). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

บุญศรี มีวงษ์อุโฆษ. (2538). กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเยอรมัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

ภาคภูมิ ปิยะตระภูมิ. (2558). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

ภูษณิศา ยุทธศักดิ์. (2553). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มานิตย์ วงศ์เสรี. (2550). หลักการคุ้มครองความเชื่อถือหรือความไว้วางใจโดยสุจริตของประชาชน. วารสารวิชาการศาลปกครอง.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2553). หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม. นิติรัฐ นิติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วินัย ศิริมายา. (2542). ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับข้อสัญญาไม่เป็นธรรมในสัญญาสำเร็จรูปของผู้ประกอบการบ้านจัดสรร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2558). คำอธิบายนิติกรรมสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร เอี่ยมธงชัย และจันทิมา พัฒนางกูร. (2550). กฎหมายการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Law) ของสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ศุภศักดิ์ พรหมโมเมศ. (2561). แนวทางในการปรับปรุงเพิ่มเติมแบบสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด (อ.ช.22) เพื่อการบังคับ ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สัญชัย ศิริเดช. (2556). ปัญหาการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการออกคาสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทางวินัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2564). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

อมเรศ กระบวนสิน วิกรณ์ รักษ์ปวงชน และวิมาน กฤตพลวิมาน. (2561). กฎหมายอาคารชุด เปรียบเทียบของประเทศไทยกับรัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อภิชน จันทรเสน. (2549). มาตรการต่างๆ ของรัฐในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ. วารสารกฎหมาย. 25 (ฉบับพิเศษ). 465-478