การตรวจพยานหลักฐานในคดีอาญาก่อนสืบพยานของประเทศไทย

Main Article Content

หิรัญญา ปะดุกา
ปัณณธร หอมบุญมา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพยานหลักฐานในคดีอาญา
ก่อนการสืบพยาน 2) ศึกษาถึงแนวคิดของกระบวนการการตรวจพยานหลักฐานในคดีอาญาก่อนการสืบพยานของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) และระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) 3) ศึกษากฎหมายของประเทศไทย
ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพยานหลักฐานในคดีอาญาก่อนการสืบพยานและ 4) เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสม
ในการตรวจพยานหลักฐานในคดีอาญาก่อนสืบพยานของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยการศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา ระเบียบ ประกาศและเอกสารอื่น ๆ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาในแต่ละประเด็นปัญหา ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการเปิดเผยพยานหลักฐานหรือการตรวจสอบพยานหลักฐานก่อนวันนัดสืบพยาน ในระบบกฎหมายไทยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173/1 และมาตรา 173/2 วรรคแรก บัญญัติให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้มีวันเปิดเผย หรือตรวจสอบพยานหลักฐานก่อนการสืบพยาน ซึ่งจะมีขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลซึ่งไม่ได้ใช้ในคดีอาญาทุกคดีและกับพยานหลักฐานทุกประเภท ทำให้ในคดีอาญาที่ไม่มีการตรวจพยานหลักฐาน จำเลยก็จะไม่มีสิทธิดังกล่าว รวมถึงแนวทางการตรวจพยานหลักฐานและการยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานเป็นไปในแนวทางของการค้นหา
ความจริงแบบต่อสู้คดี (Adversarial System หรือ Fight Theory) ในคดีแพ่ง ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชน
ที่มีความเท่าเทียมกัน จึงไม่เหมาะสมในการนำมาใช้กับคดีอาญา ส่งผลให้กระบวนการตรวจพยานหลักฐานในคดีอาญาก่อนสืบพยานของประเทศไทยยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลพล พลวัน. (2547). สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, หน้า 1.

กุลพล พลวัน. (2524). ลักษณะทั่วไปของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. วารสารอัยการ, 4(41), หน้า 49.

เข็มชัย ชุติวงศ์. (2542). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์ครั้งที่ 7), กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ, หน้า 4.

คณิต ณ นคร. (2551). ภูมิธรรมและบทบาทของพนักงานอัยการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, หน้า 107.

คณิต ณ นคร. (2552). กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาคการดำเนินคดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: วิญญูชน, หน้า 46

จิตติ เจริญฉ่ำ. (2538). พยานในคดีอาญา. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร, หน้า 14-15.

ณัฐวุฒิ พรหมศร. (2547). การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานซึ่งต้องห้ามรับฟังในคดีอาญา (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ, หน้า 9.

ประทุมพร กลัดอ่ำ. (2533). การนำวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในวิธีพิจารณาความอาญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญา นิติศาสตร์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, หน้า 6.

เปรมศักดิ์ ชื่นชวน. (2550). การเปิดเผยพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงก่อนการพิจารณาคดีในคดีอาญา เอกสารวิชาการ ส่วนบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 10. วิทยาลัยการยุติธรรม, กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม, หน้า 15.

ปีติกุล จีระมงคลพาณิชย์. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องสิทธิของจำเลยกับการอำนวยความสงบสุขของรัฐ. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้า 5-6.

พิณารัตน์ ชินพิทักษ์. (2548). สิทธิของจำเลยในการได้รับการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานหลักฐานก่อนการสืบพยานในคดีอาญา (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ, หน้า 25.

วิสาร พันธนะ. (2521). วิธีพิจารณาความอาญาในสหรัฐอเมริกา. ดุลพาห, 25(5), หน้า 58-60.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2547). หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.นครปฐม: มิสเตอร์ ก๊อปปี๊, หน้า 44-45.

สมชาย วิมลสุข. (2549). บทบาทของศาลในชั้นต้นในการค้นหาความจริง (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ, หน้า 1.

อุดม รัฐอมฤต. (2538). ผลของข้อสันนิษฐานตามกฎหมายต่อการกำหนดหน้าที่นำสืบในคดีอาญา. วารสารนิติศาสตร์, 25(2), หน้า 306.

อำนาจ เนตยสุภา. (2548). การเปิดเผยข้อมูลในคดีอาญาของพนักงานอัยการ. กฎหมายใหม่, 3(53), หน้า 45.