แนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Main Article Content

กฤตวีร์วัจน์ ธูปประสม
ชัยยศ เดชสุระ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 2) เพื่อสร้างแนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤต ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 2) แบบสัมภาษณ์แนวทาง การบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤตของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีสภาพการบริหารงานสูงสุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2) ปัญหาการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤตของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหาการบริหารงานสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤตของสถานศึกษา พบว่า 3.1) ควรมีการประชุมวางแผนและทำความเข้าใจนโยบายการเปิดสถานศึกษาในภาวะวิกฤตของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 3.2) ควรส่งเสริมให้ครูได้ศึกษาสภาพของผู้เรียนรายบุคคลและติดต่อกับผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในภาวะวิกฤต 3.3) ควรวิเคราะห์ผลของข้อมูลและนำผลที่ได้ไปวางแผนในการจัดการเรียนรู้ 3.4) ควรจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและมีความเหมาะสมกับภาวะวิกฤต 3.5) ควรส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ในภาวะวิกฤต 3.6) ควรปรับเปลี่ยนการวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมกับภาวะวิกฤต และ 3.7) ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการบริหารงานวิชาการในภาวะวิกฤตเป็นประจำทุกปีการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราวรรณ รินทรา. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรสถานศึกษาในอำเภอ สามง่าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชิโรบล วรรณธะนะ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ ราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐธยาน์ จะนต. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เด่นนภา จุ้ยดอนกลอย. (2559). การศึกษาสภาพ และปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปภาวดี โพธิ์งาม. (2559). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปิยะนาถ ไชยวุฒิ. (2562). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

แววตา ชุ่มอิ่ม. (2562). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาทสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา, 136(57 ก), 49-53.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา, 127(45 ก), 1-3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ปีการศึกษา 2563. กระทรวงศึกษาธิการ.

อัตพร อุระงาม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Daud, Y. (2018). Teaching and learning supervision, teachers’ attitude towards classroom supervision and students’ participation. International Journal of Instruction, 11(4), 513–526.

George, I. N. (2017). Effective classroom management and student s’ academic performance in secondary schools in Uyo Local Government Area of Akwa Ibom state. Research in Pedagogy, 7(1), 43–56.

Grossman, P. (2009). Teaching practice: A cross-professional perspective. Teachers College Record, 111(9), 2055–2100.