รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วม ของบ้านโนนคอย ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

บุษกร จันท์เทวนุมาส
สุวภัทร ทำสวน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วมและ 2) เพื่อประเมินผลรูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วม เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามจากประชากรทั้งสิ้น 509 คน เลือกกับกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 227 คน โดยเป็นบุคคลในชุมชนที่สามารถให้ข้อมูลได้ นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์และองค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยสถิติอ้างอิง พัฒนาร่างรูปแบบ ผ่านผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ในระดับ 0.60 ขึ้นไป จึงนำผลจากการประเมินร่างรูปแบบไปพัฒนารูปแบบให้เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วมของบ้านโนนคอย สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2-test = 112.58 df = 74 p = 0.05240) นั่นคือ ค่าไค-สแควร์ แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) รวมทั้งค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.98 และ 0.98 ตามลำดับ ส่วนผลการประเมินรูปแบบ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วม มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ บริบทชุมชน มี 4 ด้าน 20 ข้อ องค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วม มี 7 ด้าน 27 ข้อ กระบวนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วมมี 6 กระบวนการ 17 ข้อ และปัจจัยที่ส่งผลต่อ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนแบบมีส่วนร่วม มี 2 ปัจจัย 13 ข้อ รวมทั้งสิ้น 77 ข้อ ที่จะเป็นแนวคิดสำหรับนำไปพัฒนาแหล่งเรียนรู้ครัวชุมชนให้เกิดขึ้นจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกฎ แพทย์หลักฟ้า, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ และสาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนใน

การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), น.7-18.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). โครงการความร่วมมือชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี. http://www.phraelocal.go.th/uploader/003/2559/vt1007-3.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา คุ้มทรัพย์. (2558). การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดอนหมู จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการเกษตรราชภัฏ, 14(1), น.31-36.

ทรงรัตน์ ศรีสารคาม. (2553). การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับโรงเรียนและชุมชนบ้านเม่นใหญ่ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นาวา วงษ์พรม. (2560). แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นิคม ชมพูหลง. (2550). แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

บุษบา ช่วยแสง. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนบ้านหนองอ้อน้อย อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พยุง ใบแย้ม. (2558). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

มนวรรณ์ บุญศรี. (2552). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นโดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาป่าสาธารณะหนองตะแบก อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มาลี ไชยเสนา. (2554). ห้องสมุดและสังคมการเรียนรู้. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2561). องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้. https://www.randdcreation.com

วสันต์ จันทร์โอภาส. (2562). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสังคมวิชาการ, 12(1), 40.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). https://www.nstda.or.th/th/publication/11247-national-economic-social-development-plan-12

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). ยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579). http://www.plan.cmru.ac.th/documents/nation/01007.pdf

สุวุฒิ วรวิทย์พินิต, วรรณวีร์ บุญคุ้ม และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1657-1659.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลวง. (2562). จำนวนประชากร และพื้นที่ตำบลหนองพลวง. http://www.nongphluang.go.th/index.php?op=dynamiccontent_ detail& dynamiccontent_id =92988&id=12704

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลวง. (2563). รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. http://www.nongphluang.go.th/files/dynamiccontent/file-217761-161907 5943756042112.pdf

Galupa, A., Hartulari, C., & Spataru, S. (2014). The environment pollution in terms of system theory and multicriterial decision. Economic Computation & Economic Cybernetics Studies & Research. 48(4), 175-189. https://www.researchgate.net/publication/285612848_The_environment_pollution_ in_terms_of_system_theory_and_multicriterial_decisions

Willer, D. (1986). Scientific sociology: Theory and method. Englewood Clitt, N.J.: Prentice–Hall.