การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา ประยุกต์ใช้กับการเรียนแบบออนไลน์ ในรายวิชาวงจรไฟฟ้า

Main Article Content

สุเมธ เทศกุล
ธนิต บุญใส
ศศิพร ผลไพศาลศักดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา ประยุกต์ใช้กับการเรียนแบบออนไลน์ในรายวิชาวงจรไฟฟ้า 2) หาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา ประยุกต์ใช้กับการเรียนแบบออนไลน์ในรายวิชาวงจรไฟฟ้า โดยใช้การวิจัยและพัฒนาผู้ชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้องของ แผนจัดการเรียนรู้เป็นผู้สอนทางด้านวิศวกรรม 3 ท่าน ตัวอย่างประชากรวิจัยของการทดลอง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่1หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ  คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 23 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจากประชากรวิจัย 83 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสม 5 ระดับ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t)  ผลการวิจัย พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา ประยุกต์ใช้กับการเรียนแบบออนไลน์ ในรายวิชาวงจรไฟฟ้ามีความเหมาะสมระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.19, SD = 0.75) และผลการหาประสิทธิภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียน (E1) และหลังเรียน (E2) มีค่าเป็น 82.83/84.57 และผู้เรียนมีคะแนนทดสอบเฉลี่ยหลังทดลองมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยหลังการทดลองในระดับพึงพอใจระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.42, SD = 0.68)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทรพินทุ์ พัฒนโอฬาร. (2556). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านเว็บตามแนวทฤษฎีการขยายความคิดเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

ประเวศ วะสี. (2539). ปฏิรูปการศึกษาไทยการยกเครื่องทางปญญา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสรางสื่อจำกัด.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร. 33(2). 49-56.

พลอยไพลิน ศรีอ่ำดี. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สุวิทย์ มูลคํา. (2551). ครบเครื่องเรื่องการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพการพิมพ์.

Alexander, C. K., & Sadiku, M. N.O. (2000). Fundamentals of Electric Circuits. New York: McGraw-Hill.

Barrow, H. S. (2000). Problem-based learning applied to Medical Education (Rev. ed.). Ilinois: School of Medicine, Southern Illinois University.

Boylestad, R. L. (2003). Introductory Circuit Analysis (10th ed). New Jersey: Prentice Hall.