พนมนาคา: ตัวตนและอัตลักษณ์ของสัตว์ในมุมมองการวิจารณ์เชิงนิเวศ

Main Article Content

ภูมินทร์ ภู่กัน
อุษณียาภรณ์ ยังพูล
อาคิฬา วาที
ขวัญชนก นัยจรัญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอตัวตนและอัตลักษณ์ของสัตว์ตามมุมมองการวิจารณ์ เชิงนิเวศและศึกษาระดับชั้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในนวนิยายเรื่อง พนมนาคา ของ พงศกร ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมนุษยศาสตร์ ทำความเข้าใจและตีความวรรณกรรมตามแนวคิดสัตวศึกษาในมุมมองการวิจารณ์ เชิงนิเวศ นำเสนอผลการวิจัยโดยใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การนำเสนอตัวตนและอัตลักษณ์ของสัตว์ในนวนิยายเรื่องพนมนาคา มี 2 ประเภท คือ อัตลักษณ์ของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ พญานาค และอัตลักษณ์ของสัตว์เดรัจฉาน ได้แก่ งู การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของสัตว์แต่ละประเภทนำไปสู่การที่มนุษย์ปฏิบัติต่อสัตว์แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่การจัดระดับชั้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ 3 ระดับ ได้แก่ สัตว์มีสถานะสูงกว่ามนุษย์ คือ พญานาค มนุษย์จึงปฏิบัติต่อพญานาคอย่างนอบน้อมเคารพบูชาเพราะเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์และความลึกลับของพญานาค จนเกิดเป็นพิธีกรรมในการบูชาพญานาค ระดับชั้นความสัมพันธ์สัตว์มีสถานะเท่าเทียมกับมนุษย์ มนุษย์กลุ่มนี้เป็นตัวละครฝ่ายดีที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ มีความเห็นอกเห็นใจ และเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด นำไปสู่การปฏิบัติต่อธรรมชาติอย่างเคารพซึ่งกันและกัน และระดับชั้นความสัมพันธ์สัตว์มีสถานะต่ำกว่ามนุษย์ มนุษย์กลุ่มนี้เป็นตัวละครฝ่ายร้ายที่มีมโนทัศน์ความเป็นอื่นจากธรรมชาติมองว่าธรรมชาติคือศัตรูโดยเฉพาะสัตว์ แม้แต่มนุษย์ที่มีลักษณะเหมือนสัตว์ก็ต้องกักขังและทำลายล้าง เพราะถือเป็นความอัปยศของเผ่าพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. (2559). มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1099-1116.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2562). อุปลักษณ์สัตว์ในนวนิยาย เรื่อง “คนในนิทาน”: สัตว์ศึกษาตามมุมมองวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 11(3), 1-25.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2564). การสร้างจิตสํานึกเชิงนิเวศผ่านตัวละครสัตว์ในนวนิยายเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว. ในเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายความร่วมมือวิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 14, พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คมกฤษณ์ วรเดชนัยนา และปฐม หงส์สุวรรณ. (2562). งูซวงในวรรณกรรมนิทานอีสาน : การอุปลักษณ์และความหมายทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 36(3), 278-303.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2560). ใช่เพียงเดรัจฉาน: สัตวศึกษาในมุมมองของการวิจารณ์เชิงนิเวศ. ในรื่นฤทัย สัจจพันธุ์, ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ ทัศนะของนักวิชาการไทย (น. 329-407). ปทุมธานี: นาคร.

บงกชกร ทอง, และกาญจนา วิชาญาปกรณ์. (2560). อัตลักษณ์ทางเพศในนวนิยายสะท้อนสังคมเพศที่สาม พ.ศ.2516 – 2557. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง- สาละวิน, 8(2), 15-39.

ปีติชา ชัยสุวรรณ. (2562). การสร้างสรรค์ตัวละคร “นาค” ในนวนิยายไทย พ.ศ. 2555-2560 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงศกร จินดาวัฒนะ. (2563). พนมนาคา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง.

พระปลัดพจน์ทพล ฐานสมฺปุณฺโณ. (2564). ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมเรื่องพญานาคในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีความสัมพันธ์กับองค์พระธาตุพนม (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิณวิไล ปริปุณณะ. (2555). การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนจีนในไทย: กรณีศึกษาตัวละครคนจีนอพยพในนวนิยายเรื่องลอดลายมังกร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุดารัตน์ อาฒยะพันธุ์, ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ, และอุรมรมย์ จันทมาลา. (2561). ศรัทธานาคะ: การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์จากนาคาคติในบริบทท้องถิ่นคำชะโนด. ในเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 14. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2560). สัตว์ศึกษา: สู่โลกหลังภาพแทน. ใน สุดแดน วิสุทธิ์ลักษณ์ (บรรณาธิการ), สิงสาราสัตว์ มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์และสัตว์ศึกษา (น.201-233). กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา (โครงการจัดพิมพ์คบไฟ).