การพัฒนารูปแบบศาสนสัมพันธ์ชุมชนเขตคลองสามวาและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของศาสนสัมพันธ์ในเขตคลองสามวา และเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของศาสนสัมพันธ์ในเขตคลองสามวา และเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และ 3) พัฒนารูปแบบศาสนสัมพันธ์ในเขตคลองสามวา และเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และกลุ่มสนทนา กลุ่มตัวอย่างสำหรับ การสัมภาษณ์เชิงลึก และกลุ่มสนทนาประกอบด้วยผู้นำศาสนา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้นำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้รับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้:
1) สภาพการณ์ปัจจุบันของศาสนสัมพันธ์ในเขตคลองสามวา และเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
2) ปัญหาอุปสรรคของศาสนสัมพันธ์ในเขตคลองสามวา และเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร คือ มีคนบางคนไม่เข้าใจศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตของผู้อื่น และมีเจตคติทางลบต่อคนเหล่านั้น
3) รูปแบบการพัฒนาศาสนสัมพันธ์ในเขตคลองสามวา และเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ผู้นำทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องศาสนสัมพันธ์โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รวมทั้งพระราชวงศ์ซึ่งทรงให้การอุปถัมภ์ศาสนาทั้งหลายทั้งปวงในราชอาณาจักรไทย ในกรณีของเขตคลองสามวาและเขตหนองจอกนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยือนประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ที่อาศัยอยู่บนฝั่งคลองแสนแสบในปี พ.ศ. 2537 นอกจากนั้น บรรดาผู้นำชุมชนต่างๆ ในเขตคลองสามวา และเขตหนองจอก ก็ล้วนมีบทบาทสำคัญในเรื่องศาสนสัมพันธ์ (2) ศาสนิกชนของ 3 ศาสนาหลักที่เคารพความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในชุมชน และ (3) กิจกรรมดีๆ ที่คิดริเริ่มโดยบรรดาผู้นำและชาวบ้านในชุมชนที่ไม่มีการรังเกียจเดียดฉันท์กันในเรื่องศาสนา และร่วมกันทำงานเพื่อเขตคลองสามวา เขตหนองจอก และราชอาณาจักรไทยโดยรวมคำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กีรติ บุญเจือ. (2548). บทบาทของกระบวนทัศน์ในการสอนปรัชญา. ราชบัณฑิตยสถาน,
งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). มานุษยวิทยากายภาพวิวัฒนาการทางกายภาพและวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬา
มหาวิทยาลัย.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2542). พุทธศาสนากับการแบ่งช่วงชั้นทางสังคม. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 6(2), 4-24.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2562). เมื่อสยามพลิกผัน. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2557). กระบวนทัศน์การศึกษาชาติพันธุ์สัมพันธ์. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง, 10(3), 219-242.
พระครูปริยัติกิจจาภิรม (กระจาย รวิวณฺโณ). (2563). การประยุกต์ใช้อรรถปริวรรตของพุทธทาสภิกขุในแนวทางการเสริม
สร้างพหุนิยมทางศาสนาในสังคมไทยปัจจุบันเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ. วารสาร สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา
เชิงพุทธ, 5(6), 68-77.
วีสัณห์ วงษ์แก้ว, ภารดี มหาขันธ์ และ สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์. (2560). การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชนคาทอลิกหัวไผ่.
วารสารวิชาการแสงธรรม, 9(1) ,66-79.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). อารยธรรมฝั่งทะเลตะวันออก. กรุงเทพฯ: มติชน.
อุทัย สติมั่น. (2559). ศาสนสัมพันธ์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในประชาคมอาเซียน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์,
(1), 37-48.
Durkheim, Emile. (1973). On Morality and Society. Edited by Robert Bellah. Chicago: University
of Chicago Press.
Fryling, M. J., Johnston, C., & Hayes, L. J. (2011). Understanding observational learning: An
interbehavioral approach. The Analysis of verbal behavior, 27(1), 191-203.
Mestiri, S. (2011). Débat public, démocratie délibérative et démocratie contestataire: pour un
concept de démocratie post-libérale. Archives de Philosophie du Droit, 54.
Moyaert, M. (2012). Recent developments in the theology of interreligious dialogue:
From soteriological openness to hermeneutical openness. Modern Theology, 28(1),
-52.
Wormald, B. H. G., & Goodwin, W. B. H. (1993). Francis Bacon: history, politics and science,
-1626. Cambridge University Press.