การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคม ของวัยกลางคนในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยชรายุค 4.0

Main Article Content

พิชชา ถนอมเสียง
เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์
อนงค์รัต รินแสงปิน
วิมพ์วิภา บุญกลิ่น

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคน 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของวัยกลางคนที่มีต่อโปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคน กลุ่มเป้าหมาย คือ วัยกลางคนที่มีอายุระหว่าง 45-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคนในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยชรา แบบวัดการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคนในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยชรายุค 4.0  และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประยุกต์ใช้คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์


               ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้


  1. โปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคน ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพ การปรับตัวทางสังคมด้านการรับรู้ การปรับตัวทางสังคมด้านบทบาทหน้าที่ การปรับตัวทางสังคมด้านอารมณ์ การปรับตัวทางสังคมด้านการแสดงออกทางสังคม และการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีความสุข โดยผลการตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.74)  

  2. การปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคน พบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( gif.latex?\bar{x}=3.69) และหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  =3.88) มีคะแนนพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 14.50 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับต้น

  3. ความพึงพอใจของวัยกลางคนที่มีต่อโปรแกรมฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของวัยกลางคนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.34)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

ขวัญชนก นันทะชาติ, ครรชิต แสนอุบล, และวิไลลักษณ์ ลังกา. (2558). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(6), 81-92.

ปัทมาพร เกิดแจ้ง และสวรรยา ธรรมอภิพล. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตและการปรับตัวของข้าราชการครูหลังเกษียณในสังกัดกลุ่มโรงเรียนมาลัยแมน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 10(2), 397-410.

มนพัทธ์ อารัมภ์วิโรจน์, อนันต์ ไชยกุลวัฒนา, นิตยา สุวรรณเพชร, ยมนา ชนะนิล. (2554). การปรับตัวและการสนับสนุนด้านสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 26(3), 196-206.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่จำกัด.

วริศรา ใจเปี่ยม ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ และประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2558). รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 51-61.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุขอรุณ วงษ์ทิม. (2560). รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารตำรวจ, 9(1), 1-12.

Erikson, Erik H. (1968). Identity, Youth, and Crisis. New York: W.W. Norton.

Lefrancois, Guy R. (1996). The lifespan (3rd Edited). Belmont California: Wadsworth Publishing Company.

Holmes, T.H. and Rahe, R.H. (1967). The Social Readjustment Rating Scale. Journal of Psychosomatic Research, 11, 213-218.

Thorndike, Edward L. (1966). Human learning. Cambridge, Mass: M.I.T. Press.