รูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนของครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนของครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรี และ 2) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนของครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยขั้นแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนของครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรี และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันรูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 363 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .215-.845 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .946 สถิติที่ใช้ คือวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันระดับเดียว ขั้นที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 8 คน โดยวิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนของครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรี มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการครองตน 2) หลักการครองคน 3) หลักการครองงาน ผลการตรวจสอบรูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนของครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า x2= .011, df = 1, p = .916, x2/df = .011, RMSEA = .000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMR = .002
2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการปฏิบัติตนตามหลักการครองใจคนของครูในโรงเรียนจังหวัดจันทบุรี มีรูปแบบแนวทางการการปฏิบัติตนที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชินชัย แก้วเรือน. (2558). การบูรณาการการครองใจคนตามแนวทางพระพุทธศาสนา. พิฆเนศวร์สาร,11(2), 154-168.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องตน (พิมพครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

บุญชู แสงสุข. (2544). ทัศนะของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติจริงของผู้บริหารสถานศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

พระภาวนาวิสุทธิคุณ. (2546). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมศาสนา.

พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2550). ครองตน ครองคน ครองงาน. กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ,พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา, 121(23-ก), 1-24.

ไพรัตน์ วงษ์นาม. (2547). การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม LISREL. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์, และเอมม่า อาสนจินดา. (2559). จริยธรรมในวิชาชีพครู. นครปฐม: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิวพร พิลานนท์. (2555). พฤติกรรมด้านการครองตน การครองคน และการครองงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุเนตร ทองคำ. (2544). พฤติกรรมด้านคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล. (2556). กิจกรรมสร้างเสริมวินัยในตนเองของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977) On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test Item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49–60.

Yamane, T. (1970). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.