กลยุทธ์การโค้ชจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (Co-5 STEPs) ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล
วรานันท์ อิศรปรีดา
กวีเชษฐ์ เปีย
ทยิดา เลิศชนะเดชา
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co 5 STEPs) ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้วยกลยุทธ์การโค้ชจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการสะท้อนคิด 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co 5 STEPs) ด้วยกลยุทธ์การโค้ชจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการสะท้อนคิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบอาสาสมัคร (Volunteer Sampling) จำนวน 18 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกการสังเกต
การปฏิบัติงาน 3) แบบบันทึกความคิดเห็น และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅) เท่ากับ 4.79 คะแนน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.07 และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅) เท่ากับ 4.41 คะแนน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.53
2. นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (Co 5 STEPs) ด้วยกลยุทธ์การโค้ชจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการสะท้อนคิดในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (𝑥̅) เท่ากับ 4.34 คะแนน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.62

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือฝึกอบรมวิทยากร การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. [ม.ป.ท.].

บุศลิน ช่างสลัก. (2559). เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาทักษะการเรียนรู้ เรื่องการวิจัยอย่างง่าย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นครพนม: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.

พจน์ วงศ์ปัญญา. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co 5 STEPs) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เชียงใหม่: โรงเรียนบ้านป่าตาล.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558) วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์ สู่การปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุงใหม่). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สุเดือนเพ็ญ คงคะจันทร์ และคณะ. (2550). เอกสารประกอบการประชุมอบรมหลักสูตรนักบริหารงานส่งเสริมสุขภาพระดับกลาง เรื่อง Coaching and mentoring. [ม.ป.ท.].

สุระศักดิ์ อักษร. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมและผ้าฝ้ายลายขิด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทุ่งไชยพิทยารัชมังคลาภิเษก อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด.ศรีสะเกษ. https://www.gotoknow. org/posts/300922

ไอบาร์รา, เฮอร์มีเนีย. (2556). การสอนงาน ปรึกษาละดูแล. (กมลวรรณ รวมเดช, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Bigge, M. L. (2017). Learning theories for teachers. https://archive.org/details/learningtheories0016bigg_z7a9

Mark, M. M., Donaldson, S. I., & Campbell, B. (2011). Social psychology and evaluation: Building a better future. In M. M. Mark, S. I. Donaldson, & B. Campbell (Eds.), Social psychology and evaluation. New York: Guilford.

Weinburgh, M., Smith, K., & Clark, J. (2008). Using the reflective teaching model in a year-long professional development: A case study of a second year urban elementary teacher. Electronic Journal of Science Education, 12(2), 1-20.