การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียมและบรรจุภัณฑ์ของชุมชนบ้านหลุมข้าว

Main Article Content

ดวงพร ไม้ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียมของชุมชนบ้านหลุมข้าว ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียมของชุมชนบ้านหลุมข้าว และ 3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการออกแบบลายตะกร้า การออกแบบตราสัญลักษณ์ การออกแบบป้ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของตะกร้าหวายเทียมของชุมชนบ้านหลุมข้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มชุมชนบ้านหลุมข้าวจำนวน 15 คน และลูกค้าจำนวน 30 คน สุ่มแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านหลุมข้าวได้ผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดมีหลากหลายลวดลายประกอบด้วย ลายดอกพิกุล ลายดอกกุหลาบ ลายเรือสุพรรณหงส์ ลายไทยแนวเอียงลายไทยและลายไทยดอกเดี่ยวด้วยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการออกแบบลายตะกร้า ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน 0.64 อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินการออกแบบตราสัญลักษณ์ การออกแบบป้ายสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของตะกร้าหวายเทียมของชุมชนบ้านหลุมข้าว โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชอบ เข็มกลัดและโกวิทย์ พวงงาม. (2547). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเชิงประยุกต์. เสมาธรรม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยสาส์น.

ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์ และฉันทนา สุรัสวดี. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนบ้านคลองเดื่อพัฒนา ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(3), 76 – 89.

วรรณนา กัลยาสาย และคณะ. (2552). โครงการแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายขนมของกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านคำแสนราชเหนือ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศศิวิมล จุลศิลป์ (2551). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้กระบวนการเอไอซี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิจัยการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว และชูศักดิ์ ทองแกมแก้ว. (2552). รายงานการวิจัยแบบมีส่วนร่วมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นเพื่อแปรรูปเป็นอาหาร เครื่องสำอาง น้ำยาทำความสะอาดและกิจกรรมนันทนาการ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.