การสำรวจคุณสมบัติและรูปแบบที่นิยมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้า จากสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

จิรัชยา ทาศรี
วริศรา ยันต์วิเศษ
นิลวรรณ อยู่ภักดี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเครื่องสำอางมีหลากหลายรูปแบบและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน และการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางมีหลายปัจจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณสมบัติและรูปแบบที่นิยมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้าจากสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่ซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้า จำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา แสดงข้อมูลในรูปแบบความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มประชากรที่ซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 86.50) มีอายุอยู่ในช่วง 20-40 ปี (ร้อยละ 48.05) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 73.77) อาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 51.17) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท (ร้อยละ 44.90) มีประเภทของผิวหน้าเป็นผิวผสม (ร้อยละ 44.94) มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้าที่มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้น (ร้อยละ 62.60) ในรูปแบบเนื้อครีม (ร้อยละ 58.40) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของคุณสมบัติและรูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้าในระดับความสำคัญมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการเปลี่ยนคุณสมบัติและรูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้าในระดับเปลี่ยนบางครั้ง เหตุผลในการเลือกใช้คุณสมบัติและรูปแบบ คือ เพื่อความงาม (ร้อยละ 62.86) ความถี่ในการซื้อน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน (ร้อยละ 66.23) งบประมาณในการซื้อแต่ละครั้งมากกว่า 500 บาท (ร้อยละ 61.56) เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจซื้อ คือ มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ (ร้อยละ 72.99) นอกจากนี้ อายุและประเภทของผิวหน้ามีผลต่อการเลือกใช้และซื้อคุณสมบัติและรูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้าที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยที่ได้สามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบกิจการในการวางแผนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับดูแลผิวหน้าตามความต้องการในแต่ละกลุ่มช่วงอายุและประเภทของผิวหน้าของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2548). การวิจัยทางพยาบาล: แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ. โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

ข้อมูลอุตสาหกรรมความงามไทย ปี 2561. (2561). http://www.technology.in.th/industrial-data/doku.php?id=cosmetics-industry:newstart60-status-up1

ณิชมน ศิริยงวัฒนา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสําอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

เดี่ยนลี่ หลี่ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางของสุภาพสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,14(67), 121-127.

ธีรยา วรปาณิ และ ปองพล วรปาณิ. (2560). การสำรวจปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจและพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของประชาชนในจังหวัดตาก. วารสารอาหารและยา, 24(3), 38-48.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 380-381.

มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (ม.ป.ป.). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.

พิมพ์ศิริ อุยวัฒนกุล, และ เจตนิพิฐ สมมาตย์. (2560). พฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 28(2), 98-110.

ศศิพร ชินณพงษ์. (2546). พฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดที่ใช้ประกอบกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าประเภทลดริ้วรอยของสตรีในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ และวลัย ศิริพานิชวงศ์. (2553). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพศชายโดยเฉพาะ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 2(1), 29-40.

สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก 2019. (2561). คนไทยใช้ติดเน็ตมากสุดในโลก https://www.thinkaboutwealth.com/digitalstatworld-thailand2019/

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 44(1), 36-42.