แนวคิดการออกแบบและการพัฒนาสติกเกอร์ไลน์ เพื่อเด็กกำพร้าและยากจนจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

อัปสร อีซอ
ฮัมเดีย มูดอ
อนัน วาโซ๊ะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการออกแบบและพัฒนาสติกเกอร์ไลน์เพื่อเด็กกำพร้าและยากจนจังหวัดชายแดนใต้ โดยศึกษาจากบุคลากรภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเพื่อเด็กกำพร้าและยากจน ผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบสติกเกอร์ไลน์ และลูกค้ามุสลิมที่เคยซื้อและใช้สติกเกอร์ไลน์ วิธีการวิจัยใช้แบบผสมผสาน ทั้งจากการสนทนากลุ่มการปฏิบัติการพัฒนา และการใช้แบบสอบถาม โดยข้อมูลเชิงคุณภาพจะถูกนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และเขียนพรรณนาเชิงเหตุผล ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ จะนำไปประมวลผลหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการออกแบบรวมถึงพัฒนาสติกเกอร์ไลน์ฯ ควรจัดทำแยกเป็น 2 ชุด โดยชุดเด็กชาย ใช้ชื่อว่า “Yateem Boy” และชุดเด็กหญิง ใช้ชื่อว่า “Yateem Girl” แต่งกายด้วยเสื้อผ้าตามแบบวิถีมุสลิม โทนสีเน้นสีเขียว ขาว และเหลือง เพื่อสื่อถึงศาสนาอิสลาม ความบริสุทธิ์และความสนุกสนานร่าเริงตามลำดับ ด้านบุคลิกภาพ เน้นมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน และคิดบวก 2) การพัฒนาสติกเกอร์ไลน์ฯ โดยการปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบสติกเกอร์ไลน์ฯ ชุดละ 3 แบบ และใช้แบบสอบถามศึกษาความพึงพอใจจากมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งพบว่า Yateem Boy แบบที่ 2 และ Yateem Girl แบบที่ 1 ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด จากนั้นจึงนำต้นแบบสติกเกอร์ไลน์ดังกล่าว ไปพัฒนาสติกเกอร์ไลน์เพิ่มเติมจำนวน 24 ท่า พร้อมติดต่ออัพโหลดสติกเกอร์เพื่อการจัดจำหน่าย กำหนดราคาชุดละ 55 บาท ได้เงินจากการจัดจำหน่ายสติกเกอร์ไลน์ทั้งสองชุดรวม 33,000 บาท และได้มอบเงินให้กับเด็กกำพร้าและยากจนจังหวัดชายแดนใต้รวมจำนวน 33 คน ๆ ละ 1,000 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณี เสือใหญ่ และพัชนี เชยจรรยา. (2559). พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559 หัวข้อ “นวัตกรรมนิเทศศาสตร์และการจัดการ” (น. 1-13). คณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกล, จิราภรณ์ ไพบูลย์นภาพงศ์, ชนิกานต์ ปฏิทัศน์ และธัญญริญญ์

พวัสส์คงสิน. (2558). การพัฒนาสติ๊กเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดอาเซียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ขององค์การบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน). วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(2), 155-184.

ดนัย ม่วงแก้ว. (2552). Flash Cartoon Animation. ไอดีซีอินโฟ ดิสทริบิวเตอร์เซ็นเตอร์.

ปิยพร ศรีสุขสวัสดิ์. (2555). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะแบบดิจิทัลของไทย กรณีศึกษา การออกแบบคาแร็กเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนธิชา ก้องวุฒิเวช และปณิธาน บรรณาธรรม. (2562). การใช้ภาษาในสติ๊กเกอร์ไลน์. ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 (น.71-82) .มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

โรงเรียนดารุสสลาม. (2558). ประโยคภาษาอาหรับในชีวิตประจำวัน. http://www.daruss.ac.th/news-detail __ 1 4651.

วราภรณ์ สำเภา และอนุชา แพ่งเกสร. (2565). วัฒนธรรมการแต่งกายสตรีมุสลิม: มุมมองอัตลักษณ์การดำรงอยู่ของความศรัทธาและความงามในบริบทปัจจุบัน. ศิลปกรรมสาร. 15(2), 107-128.

ศิริชัย ศิริกายะ และสมเกียรติ ศรีเพ็ชร. (2561). การใช้รหัสของสติกเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล. นิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 97-105.

เสาวลักษณ์ พันธบุตร. (2562). การศึกษาแนวคิดและรูปแบบในการสร้างสติกเกอร์คาแร็กเตอร์เพื่อใช้ในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 156-167.

Buzan, T. (2018). Mind map mastery: The complete guide to learning and using the most powerful thinking tool in the universe. Watkins Publishing.

Datareportal. (2022). Digital 2022: Global rverview report. https://datareportal.com/reports/digital-2022-global-overview-report.

Datareportal. (2022). Digital 2022: Thailand. https://datareportal.com/reports/digital-2022-thailand.