หัตถกรรมเครื่องเขินแบบดั้งเดิมฝูโจว: การสร้างสรรค์และพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย

Main Article Content

ชุน หลิว
ปิติวรรธน์ สมไทย
ภานุ สรวยสุวรรณ

บทคัดย่อ

เครื่องเขินฝูโจวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานระหว่างทักษะการประดิษฐ์และความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณ แสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวาของเทคโนโลยีการลงรักแบบดั้งเดิมที่ไม่เพียงขึ้นอยู่กับความประณีต ของช่างฝีมือ ความคงทนในการใช้งานและนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับนโยบายทางวัฒนธรรมความต้องการของผู้บริโภคและการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งสะท้อนถึงวิวัฒนาการของค่านิยมแห่งยุคสมัย รสนิยมทางวัฒนธรรม แฟชั่นทางสังคมและยังกลายเป็นสื่อที่แสดงออกทางศิลปะอีกด้วย อย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาของสังคม ในปัจจุบันทำให้รูปแบบ สีสันและการใช้งานเครื่องประดับเครื่องเขินฝูโจวไม่ตอบสนองความต้องการด้านสุนทรียภาพทางจิตวิญญาณของผู้คนสมัยใหม่ ดังนั้น การวิจัยเรื่อง “หัตถกรรมเครื่องเขินแบบดั้งเดิมฝูโจว: การสร้างสรรค์และพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย” จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาหัตถกรรมเครื่องเขินฝูโจวของประเทศจีน ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ เทคนิคหัตถกรรม ความหลากหลายของรูปแบบและสุนทรียศาสตร์ของเครื่องเขินสมัยราชวงศ์ซ่งเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบเครื่องประดับเครื่องเขินร่วมสมัยที่เหมาะสมยิ่งขึ้นทั้งในด้านมุมมองของการสร้างสรรค์และความงามทางวัฒนธรรมร่วมสมัย การออกแบบเครื่องประดับเครื่องเขินร่วมสมัยในครั้งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องเขินแบบดั้งเดิม ทั้งยังเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมให้กับการออกแบบเครื่องประดับสมัยใหม่และสร้างรายได้ให้กับชุมชม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Huiping, Z., & Dongshu, X. (2013). On the influence of the changes of the late Qing dynasty on the development of Fuzhou Boron lacquerware industry. Journal of Xiamen University of Arts and Crafts, Fuzhou University, 3.

Jian, Z. (2012). Research on Fuzhou lacquer workshop system. Fujian Fine Arts Publishing House.

Jing, C. (2013). Shen Shaoan born lacquerware. Fuzhou Fujian Fine Arts Publishing House.

Jinhai, Y. (1996). On man's subject consciousness. Seeking Truth.

Li, Z. (2012). Lacquer art tutorial. Chongqing University Press.

Shiguang, Q. (2000). China lacquer. Academy of Art Press.

Shiguang, Q. (2004). The complete works of Chinese traditional crafts-lacquer art. Elephant Press.

Xiaofan, F. (2005). A new theory of song Ming Taoism. Social Science Literature Publishing.

Yan, X. (2015). Sihe Ruyi cloud patterns: Typical patterns of the Ming dynasty. https://mp.weixin.qq.com/s/4hmHlghjmLwXHLCUEOyyMg