แนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมสานใบมะพร้าว สานสัมพันธ์ช่องว่างระหว่างวัย ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

พชร วงชัยวรรณ์
ณัฐณิชา มณีพฤกษ์
อินทิรา พรมพันธุ์

บทคัดย่อ

    ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายไปด้วยภูมิปัญญาจากการใช้ประโยชน์ของมะพร้าวตั้งแต่รากสู่ปลายยอด และหนึ่งในนั้นคือการจักสานใบมะพร้าวที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาในการนำทรัพยากรในท้องถิ่นนำมาสร้างเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในรูปแบบต่าง ๆ จากแนวโน้มในปัจจุบันผู้คนนิยมทำกิจกรรมศิลปะและงานประดิษฐ์เพิ่มสูงขึ้น โดยการทำกิจกรรมศิลปะจะช่วยทำให้เกิดความผ่อนคลายและส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกร่วมกัน เป็นหนึ่งในแนวทางที่จะนำไปสู่การลดช่องว่างระหว่างวัยซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน ดังนั้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมสานใบมะพร้าว สานสัมพันธ์ช่องว่างระหว่างวัย ของชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ โดยผู้เขียนได้ศึกษาแนวทางการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนผ่าน SWOT Analysis การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อชุมชน การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัย รวมไปถึงกระบวนการและนำเสนอต้นแบบของชุดกิจกรรม เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์และคุณค่าทางใจผ่านการปฏิบัติกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม ซึ่งนับว่าเป็นชุดกิจกรรมเชิงนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในยุควิถีใหม่ต่อไป 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in action: The new sustainable growth engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). https://www.nstda.or.th/home/wp-content/uploads/2020/03/images_file-pdf_20200306-bcg-in-action.pdf

ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล. (2561). การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก: รูปแบบและผลลัพธ์ของหลักสูตร. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(1), 226-242.

ธีติ พฤกษ์อุดม. (2560). การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บ้านริมคลองโฮมสเตย์. (2557). บ้านริมคลอง. http://www.baanrimklong.net/th/

บุญเรือง สมประสบ. (2556). หัตถกรรมจักสาน: การศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการผลิตโดยการมีส่วนร่วมชุมชน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 4(1), 2-23.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม. อันลิมิต.

วาสนา พรมสุรินทร์. (2540). การสร้างชุดการสอนโดยวิธีวิเคราะห์ระบบเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2542). ทัศนศิลป์สมัยใหม่. ต้นอ้อ แกรมมี่.

วีรวัฒน์ กังวานนวกุล. (2561). งานจักสานสร้างสมาธิและบริหารกล้ามเนื้อ. ไทยโพสต์. https://www.thaipost.net/main/detail/17799

สกาวรัตน์ บุญวรรโณ, เก็ตถวา บุญปราการ, และวันชัย ธรรมสัจการ. (2561). การโหยหาอดีตกับการกลายเป็นสินค้าในมิติการท่องเที่ยวของสังคมไทย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(39), 1-14.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). ต่างวัยต่างความคิด ปรับสักนิดเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย. ThaiHealth Resource Center. https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/‘ต่างวัยต่างความคิด-ปรับสักนิดเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย’

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดสมุทรสงคราม.

https://www.opsmoac.go.th/samutsongkhram-dwl-files-442791791826

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2563). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG. https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/

สุชาดา คุ้มสลุด และน้ำผึ้ง ไขว้พันธุ์. (2563). อัตลักษณ์ชุมชนที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์. วารสารบริหารธุรกิจและภาษา, 8(1), 17-27.

สุชาติ อิ่มสำราญ, สริตา เจือศรีกุล, และปทุมมา บำเพ็ญทาน. (2564). แนวทางพัฒนาชุดกิจกรรมเรียนรู้การประดิษฐ์โคมมะเต้า “Khom Craft” สำหรับศูนย์การเรียนรู้บ้านโคมคำ จังหวัดน่าน. วารสารศิลป์พีระศรี, 9(2), 44-68.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2562). Creating creative tourism toolkit (พิมพ์ครั้งที่ 2). บุ๊คพลัส.

Galbraith, B., Larkin, H., Moorhouse, A., & Oomen, T. (2015). Intergenerational programs for persons with dementia: A scoping review. Journal of Gerontological Social Work, 58(4), 357-378.

Lauren, A. (2020). The benefits of intergenerational arts-based experiences for older adults: A review of the literature. DigitalCommons@Lesley. https://digitalcommons.lesley.edu/expressive_theses/359

Lynott, P. P., & Merola, P. R. (2007). Improving the attitudes of 4th graders toward older people through multidimensional intergenerational program. Educational Gerontology, 33, 63–74

Paglia, K. (2017). Art through the ages: Intergenerational programming improves community life.

HuffPost. https://www.huffpost.com/entry/art-through-the-ages-inte_b_1554578

Sugi, K. (2009). Introducing effective intergenerational programs in age-integrated facilities at Kotoen. Journal of Intergenerational Relationships, 7(1), 40-44.

Tham, L., & Pussayapibul, N. (2012). An intergenerational learning program in Singapore. Journal of ntergenerational Relationships, 10(1), 86-92.

Yang, P. (2013). Revitalizing roles of older adult citizens: Successful stories of project history alive. Ageing International, 38, 137–148.