แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟศาลายาเพื่อส่งเสริมบริบทเมืองแห่งการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความต้องการในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟและพื้นที่ชุมชนศาลายาในบริบทเมืองการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีที่ส่งเสริมให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยใช้วิธีบูรณาการงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงสำรวจ แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย การสำรวจเก็บข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อยของนักศึกษาด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม และการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างรอบบริเวณเทศบาลตำบลศาลายา ผลการวิจัยพบว่า ศาลายามีบทบาทเด่นด้านการศึกษาและที่อยู่อาศัยที่มีพัฒนาการจากเมืองเกษตรกรรม โดยรูปแบบและความต้องการในการพัฒนาเพื่อให้เป็นเมืองแห่งการศึกษาประกอบด้วย 1. ปัจจัยด้านการพัฒนาการเชื่อมต่อโครงข่ายและเส้นทางสัญจร 2. ปัจจัยด้านการส่งเสริมศักยภาพพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กิจกรรมของเมืองที่ให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา นอกจากนี้พบว่า ความแตกต่างกันของแต่ละย่านเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามลักษณะการใช้งาน โดยพื้นที่ที่มีศักยภาพของศาลายาในอนาคต ได้แก่ ย่านสถานีรถไฟศาลายาและตลาดเก่าศาลายา ย่านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล และย่านตั้งสิน โดยแนวทางพัฒนาหลัก ได้แก่ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของย่าน การสร้างเสริมกิจกรรมและบริการในพื้นที่ย่าน และการบริหารจัดการย่าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
เกษมผลกูล อภิรักษ์. (2552). เล่าขานตำนานศาลายา. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธันวดี สุขสาโรจน์, ชีระวิทย์ รัตนพันธ์, และวิริยะ เตชะรุ่งโรจน์. (2561). โครงการศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเมืองศาลายา จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิศวกรรมศาสตร์. (2562). แผนการพัฒนาพืนที่รอบสถานีศาลายาและสถานีธรรมศาสตร์รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดง. https://mahidol.ac.th/temp/2019/10/Presskit.pdf
มหาวิทยาลัยมหิดล. หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์. (2564). ที่มาของพื้นที่ศาลายา. https://museum.li.mahidol.ac.th/mahidol-mysteries/index.php/salaya/
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.). (2562). TOD คืออะไร. http://thailandtod.com/Whatistod.html
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2559). ศาลายาเมืองน่าเที่ยว. สามลดา.
Department of Public Works and Town & Country Planning, Auros Co.Ltd., PSK Consultant. (n.d.). Final report: Spatial analysis and evaluation of northern region, central region, northeastern region, and southern region.
Lynch, K. (1977). The image of the city. MIT Press.
Maryland Department of Transportation. (2020). Transit oriented development (TOD). https://www.mta.maryland.gov/transit-oriented-development
Seattle Office of Planning & Community Development. (2018). University district. Seattle.
Shma Company Limited. (2015). Education city guideline. Shma Company Limited & Department of Public Works and Town & Country Planning.
UNESCO Global Network of Learning Cities. (2015). Guidelines for building learning cities. https://uil.unesco.org/fileadmin/keydocuments/LifelongLearning/learning-cities/en-guidelines-for-building-learning-cities.pdf