การเปรียบเทียบเครื่องเคลือบจีน - ไทยในศตวรรษที่ 14: กรณีศึกษาการเปรียบเทียบลวดลายเครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้นและสุโขทัย

Main Article Content

บุญชู บุญลิขิตศิริ
จาง หมิง
เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์

บทคัดย่อ

เครื่องเคลือบดินเผาจิ่งเต๋อเจิ้นและสุโขทัยในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือเป็นช่วงที่มีการพัฒนางานเครื่องเคลือบดินเผามากที่สุดช่วงหนึ่งซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ทั้งสองประเทศ พัฒนาการเครื่องปั้นดินเผาของไทยในสมัยสุโขทัย ได้รับอิทธิพลจากจีน (Ya, 2017) ที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนจะเป็นลวดลายที่ใช้ตกแต่งบนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ลายรูปสัตว์ ลายดอกไม้และพืชพรรณ โดยมีช่างฝีมือชาวจีนที่เข้ามาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาในสุโขทัยโดยเฉพาะเทคนิคการเขียนสีแบบใต้เคลือบ หลังจากที่ช่างฝีมือชาวจีนจากไป ช่างปั้นหรือผู้ผลิตของสุโขทัยได้สร้างเตาเผาแบบสังคโลกที่มีความโดดเด่นตามความต้องการด้านเครื่องเคลือบของประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงถึงศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นศตวรรษแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องเคลือบไทยที่มีเอกลักษณ์ของภูมิภาค หัวข้อและความหมายอันหลากหลายของศิลปะที่นี่แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน การค้าเครื่องเคลือบดินเผา และแง่มุมอื่น ๆ ของทั้งสองประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงที่มีคุณค่าสำหรับการวิจัยทางศิลปะและการสืบทอดวัฒนธรรมและศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็นมิตรระหว่างจีนและไทย รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ทางมิตรภาพจีน-ไทย ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของเครื่องเคลือบดินเผาของทั้งสองประเทศนี้ ส่วนมากเป็นการพัฒนาเทคนิคการเขียนสีใต้เคลือบ ซึ่งอธิบายถึงการสืบทอดและนวัตกรรมของช่างฝีมือของทั้งสองประเทศ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ความสวยงามและแง่มุมอื่น ๆ การศึกษาการเปรียบเทียบลวดลายและรูปทรงเครื่องเคลือบดินเผาจากทั้งสองประเทศในช่วงเวลานี้ ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างลวดลายและรูปทรงของผลงาน รูปแบบการตกแต่งและการจัดวางรูปทรงมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทว่า การตกแต่งเครื่องสังคโลกมีเอกลักษณ์และวิธีการแสดงออกในท้องถิ่นมากกว่า ซึ่งเน้นลวดลายปลาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการรักษาและสืบทอดทักษะเครื่องเคลือบไทย - จีน และเป็นข้อมูลอ้างอิงและแนวทางสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานในภายหลัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

China National Geographic. (2020). Chinese patterns. Heritage Press of China.

Guiyuan, L. (2016). Lei Guiyuan on pattern art. Shanghai Culture Publishing House.

Hong, H. (2018). The story of Yuan blue and white porcelain. China Academy of Art Publishing House.

Jiangbo, Y. (2018). Blue and white porcelain. China Forestry Publishing House.

Jun, Z. (2017). Chinese traditional fish patterns. Beijing Arts and Crafts Publishing House.

Lisheng, D. (2005). History of Thai culture and art. The Commercial Press.

Lisheng, D. (2016). Southeast Asian civilizations on the silk road - Thailand. Guangxi People's Publishing House.

San, S. (2017). The beauty of patterns. People's Posts and Telecommunications Publishing House.

Ya, D. (2017). The history of Chinese porcelain in blue and white porcelain. Wu Zhou Communication Publishing House.

Yimin, C. (2018). Interpretation of Yuan dynasty blue and white porcelain. Shanghai University Press.