รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัย คือ แบบตรวจสอบชุมชนศึกษา แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว การสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า 1) ตำบลบ้านใหม่ เป็นชุมชนที่ราบลุ่มในภาคกลาง มีศักยภาพด้านทรัพยากรทางวัฒนธรรม คือ มีวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 6 แห่ง มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ในตำบล คือ “ทุ่งมะขามหย่อง” มีภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ งานแกะสลักไม้ ที่ได้รับการถ่ายทอกจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชน และมีวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง 2) ตำบลบ้านใหม่มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว คือ มีทำเลตั้งอยู่ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมงานแกะสลักไม้ และมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย รวมทั้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และประชาชนในตำบล มีความตั้งใจในการพัฒนาการท่องเที่ยว 3) ผู้วิจัยและชุมชนได้ร่วมกันทำการสังเคราะห์ TOWS Matrix ได้รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ และกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของตำบลบ้านใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กรมการท่องเที่ยว. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/3-1TourismEconomicIssue3(April-June63).pdf?fbclid=IwAR2JZdx83YKV8dOCJL2LqD9rjYAuS1Q_tetlrwHi7LvgxyJmkcVvKJvl81g
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2566. https://www.mots.go.th/news/category/704
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กองกลยุทธ์การตลาด. งานวิเคราะห์ตลาดในประเทศ. (2566). สถานการณ์ท่องเที่ยว ตลาดในประเทศปี 2565. https://tatreviewmagazine.com/article/situation2022-domestic/
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2566-2570). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. https://secretary.mots.go.th/more_news.php?cid=60
ชนิษฐา ใจเป็ง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางสังคม: กรณีศึกษา ชุมชนนครชุม กำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(1), 26-38.
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจวรรณ สุจริต, และชัชชัย สุจริต. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 12(2), 53-65.
ศราวุธ ผิวแดง, ปณิธาน เมฆกมล, และพนา ดุลยพัชร์. (2559). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2566-2570. https://www.ayutthaya.go.th/strategic/FileData/pdf/new_280322110057.pdf
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). http://www.ban- mai.go.th/attachments/view/?attach_id=266812
อธิป จันทร์สุริย์. (2564). มูเตลู: ความเชื่อกับการท่องเที่ยว. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 20(1), 220-240.
World Tourism Organization. (2021). International tourism highlights, 2020 edition. https://www.e- unwto.org/doi/epdf/10.18111/9789284422456