การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธีเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่น ในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สุวัชราพร สวยอารมณ์
ดรัณภพ เพียรจัด
วราภรณ์ สินถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี และเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี กลุ่มตัวอย่างที่ 1 คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 462 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 และโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนมัธยมศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 2) โปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี จำนวน 8 ครั้ง ได้แก่ ปฐมนิเทศและสร้างสัมพันธภาพ การรักษาสัมพันธภาพและสำรวจมุมมองการเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลง การเผชิญปัญหา ความสามารถในการสร้างกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา การคัดสรรวิธีการเผชิญปัญหา เส้นทางการเผชิญปัญหาที่หลากหลาย ทางเลือกใหม่ในการเผชิญปัญหา และการยุติการให้การปรึกษา และ 3) ผลการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธี พบว่า นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธีในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมีความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษาออนไลน์เชิงคัดสรรเทคนิควิธีในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลความยืดหยุ่นในการเผชิญปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ วังมณี, และศิวภรณ์ สองแสน. (2564). โปรแกรมการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์ เพื่อการปรับตัวทางสังคมภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสาร กษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 29-42.

ณัฐวุฒิ สรพิพัฒน์เจริญ. (2558). การปรับตัวของนิสิตที่รับการปรึกษาออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออกระยะสั้น. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 13(1), 79-93.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาสน์.

พัทธ์รดา ยาประเสริฐ. (2564). นวัตกรรมการปรึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์เชิงบวกในการเผชิญปัญหาการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนวัยรุ่นไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา. https://webopac.lib.buu.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00335141

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280-291.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กลุ่มสารสนเทศ. (2565). ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล. https://portal.boppobec.info/obec65/restpublicstat/report

สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1121/1/Supapat_T.pdf

Basinska, M. A., Kruczek, A., Borzyszkowska, A., Góralska, K., Grzankowska, I., & Sołtys, M. (2021). Flexibility in coping with stress questionnaire: Structure and psychometric properties. Current Issues in Personality Psychology, 9(2), 179-194.

Cheng, C., Lau, H. P. B., & Chan, M. P. S. (2014). Coping flexibility and psychological adjustment to stressful life changes: A meta-analytic review. Psychological Bulletin, 140(6), 1582-1607.

Corey, G. (2012). Theory and practice of counseling and psychotherapy (9th ed.). Brooks-Cole.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Freire, P., Macedo, D., Koike, D., Oliveira, A., & Freire, A. M. A. (2018). Teachers as cultural workers: Letters to those who dare teach. Routledge.

Galatzer-Levy, I. R., Burton, C. L., & Bonanno, G. A. (2012). Coping flexibility, potentially traumatic life events, and resilience: A prospective study of college student adjustment. Journal of Social and Clinical Psychology, 31(6), 542-563.

Kato, T. (2020). Examination of the coping flexibility hypothesis using the coping flexibility scale-revised. Frontiers in Psychology, 11, 561731.

United Nations International Children’s Emergency Fund (UNICEF). (2020). 8 in 10 youth worried about their family income due to COVID-19. UNICEF. https://www.unicef.org/thailand/press- releases/8-10-youth-worried-about-their-family-income-due-covid-19

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (2nd ed). Harper & Row.