อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยว ของกลุ่มมิลเลนเนียลส์

Main Article Content

อวัศยา เฮงบุณยพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่ม มิลเลนเนียลส์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่มีสื่อสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวจำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการค้นหา ติดตามข้อมูลด้านข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ด้านการเลือกร้านอาหารและอาหาร และด้านการเดินทาง การคมนาคม ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มมิลเลนเนียลส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (Millennials) ไม่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลส์ ให้ความสำคัญกับข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเป็นอย่างมากและต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวอย่างครบถ้วนรอบด้าน อีกทั้งสื่อสังคมออนไลน์อาทิ เช่น เฟซบุ๊ก พันทิพย์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม บล็อกเว็บไซต์ท่องเที่ยว และยูทูป เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลส์ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การท่องเที่ยวกับผู้อื่นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2562). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562. https://www.mots.go.th/download/article/article_20191122092437%20.pdf

กัญชลิตา ตันเจริญ. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์และรูปแบบการนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศไทย โดยการติดตามแฟนเพจ Unseen tour Thailand. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย. แบรนด์ เมทริกซ์ รีเสิร์ช.

จิรดาภา สนิทจันทร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฉัตรชัย อินทสังข์ และดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวเชิงชุมชน กลุ่มมิลเลนเนียลส์: กรณีของบ้านด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 6(1), 1-12.

ชนิสรา กุลสันติวงศ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย Generation Y หลังโรคระบาดโควิด-19. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ตวงทอง สรประเสริฐ. (2560). กระบวนการสร้างและสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้หญิงที่เดินทางท่องเที่ยวตามลำพัง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธฤติมา อัญญะพรสุข. (2559). ปัจจัยและกระบวนการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยววัยสูงอายุชาวยุโรป. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1), 29–42.

นัฐชัย เฮงไพจิตร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อแพคเกจการเดินทางไปเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม.

นุชจรี ศรีธรรม. (2560). อิทธิพลสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยสยาม.

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561). รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. วารสารวิทยาลัย ดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 134-149.

วิรัญชนา ใจสม. (2560). การศึกษาปัจจัยการรับรู้สื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลตอ่การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2559). New gen is now: คนรุ่นใหม่คือพลังแห่งอนาคต. โคคูน แอนด์ โค.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ. (2561). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบันยุคดิจิทัล.

Ana, M. I. (2019). The role of social media and user-generated-content in millennials’ travel behavior. Management Dynamics in the Knowledge Economy, 7(1), 86-104.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297–334.