ผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่มีต่อความฉลาดรู้ทางกาย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อความฉลาดรู้ทางกายสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 - 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักศึกษากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ที่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนักศึกษากลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ไม่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบและประเมินความฉลาดรู้ทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบค่าที กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สามารถทำให้ความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสูงขึ้น ได้ 2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มีดังนี้ 2.1) ความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจ (1) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅= 50.20, S.D.= 3.11) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (x ̅=30.37, S.D.= 4.66) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านความรู้ความเข้าใจของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅=50.20, S.D.= 3.11) สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม
(x ̅= 43.17, S.D.= 2.94) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหว (1) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅=12.67, S.D.= 1.17) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (x ̅= 7.87, S.D.= 1.41) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางกายด้านสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกาย (x ̅ = 12.67, S.D.= 1.17) สูงกว่าของนักศึกษากลุ่มควบคุม (x ̅= 9.67, S.D.= 1.58) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ความฉลาดรู้ทางกายด้านแรงจูงใจและความเชื่อมั่นของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= = 4.70, S.D.= 10.15)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พงษ์เอก สุขใส. (2561). ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12 (ฉบับ Supplement), 8-21.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2561). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้พลศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2561). ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2564). ปี 2564 ปีที่ 21 แห่ง ศ. ที่ 21: ปฏิรูปการเรียนรู้พลศึกษาในสถานศึกษาหรือยัง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 47(2), 1-19.
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษ ที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล.
ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2538). ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. โอเดียนสโตร์.
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค). (2564). ผลการสำรวจโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2564. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม หาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้แบบผสมผสาน. http://www.addkutec3.com/wp- content/uploads/2012/08/blended-learning.pdf
เหงียน ถิ ทู ฮ่า และสิรินาถ จงกลกลาง. (2561). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาวบั่ง ประเทศเวียดนาม. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 14-24.
อัสรี สะอีดี, สิทธิศักดิ์ บุญหาญ, และจิตรัตดา ธรรมเทศ. (2562). สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(4), 14-24.
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (Eds.). (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals (Handbook 1: Cognitive domain). David McKay.
Bonk, C. J., & Graham, C. R. (2004). Handbook of blended learning: Global perspectives. Pfeiffer.
Castelli, D. M., Centeio, E. E., Beighle, A. E., Carson, R. L., & Nicksic, H. M. (2014). Physical literacy andcomprehensive school physical activity programs. Preventive Medicine, 66, 95-100. https://doi.org/10.1016/j.ypmed.2014.06.007
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). Harper & Row.
Likert, R. (1967). The method of constructing an attitude scale. In M. Fishbein (Ed.), Reading in attitude theory and measurement (pp. 90-95). John Wiley & Son. Online learning และ blended learning. (ม.ป.ป.). http://pirun.ku.ac.th/~g521765053/report1g2.pdf
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). Harper & Row.