การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน การสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และ 3) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยหมู่เรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัด เจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าร้อยละของค่าเฉลี่ย x ̅ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และ MANNOVA with Repeated Measure
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.89/80.37 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ในการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2555). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม. (2544). Sociocultural theory: ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวกอตสกี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 16(2), 19-21.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2555). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. อรุณกราฟิก.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรวุฒิ โศภิษฐิกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้เน้นความร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชากลุ่มสังคมศาสตร์ระดับอุดมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นภาพร เขียวแก้ว. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แทรกด้วยเพลง เรื่องโจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ปิยนุช วงศ์กลาง. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ในรายวิชาเทคโนโลยีการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(2), 101-109.
พิชัย ทองดีเลิศ. (2557). การพัฒนาสื่อแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยี และวิธีการ “การเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์”. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(2), 54-58.
เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว. (2555). รายงานการวิจัยศักยภาพนักศึกษาสถาบันราชภัฏ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบูรณ์.
วิเศษ ชินวงศ์. (2554). การพัฒนายุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศทางวิชาชีพครู สำหรับคณะครุศาสตร์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารจันทรเกษม, 17(33), 141-150.
วิเศษ พึ่งประยูร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ เทคนิคการใช้คําถามเพื่อพัฒนาความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สําหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตรการสอน และการวิจัย. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์, และปริณ ทนันชัยบุตร. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ด้วยวิธิสแกฟโฟลด์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(1), 119-132.
ศุภางค์ ไทยสมบูรณ์สุข. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบร่วมกลุ่ม เรื่อง การบริหารโครงการใน ห้องเรียนเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.
สุภัทร จีนปรุ. (2546). ผลการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม ในวิชาสื่อการสอน สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน: หลักการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคํา, และอรทัย มูลคํา. (2553). วิธีจัดการเรียนรู้. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
อติราช เกิดทอง. (2562). การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2563). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(2), 12-26.
อำไพ ธนะมูล. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์ โดยใช้รูปแบบ การสอนแบบผสมผสานระหว่างแบบ 5E กับ STAD [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Ashcraft, D., Treadwell, T., & Kumar, V. K. (2008). Collaborative online learning: A constructivist example. MERLOT Journal of Online Learning and Teacher, 4(1), 109-117.
Driver, R., & Bell, B. (1986). Students thinking and the learning of science: A constructivist view. The School Science Review, 67(240), 443-456.
Yager, R. E. (1991). The constructivist learning model: Towards real reform in science education. Science Teacher, 58(6), 52-57.