การจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

วรดา อภิญญาณสัจจะ
กรรณิกา กุกุดเรือ

บทคัดย่อ

เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ถือเป็นกำลังสำคัญในการติดตาม สืบค้น แสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อจับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิด การปฏิบัติหน้าที่จึงมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการจัดการความปลอดภัยเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร จำนวนทั้งสิ้น 112 นาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ t - test และ One–way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารจัดการในการปฏิบัติหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติหน้าที่ และด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบไปด้วย อายุ การศึกษา ระดับชั้นยศ และ ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนที่แตกต่างกัน มีการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมกฤษ บุญทศ. (2557). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตำรวจฝ่ายสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงวุฒิ เชื้อพลากิจ. (2550). ทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนต่อปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดในคดีอาญาศึกษาเฉพาะกรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฐมพร ศรีอําพัน. (2564). แนวทางการจัดการความปลอดภัยของอาสาสมัครสายตรวจจักรยาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. โรงเรียนนายร้อยตํารวจ.

พงศกร สวัสดิ์จันทร์. (2562). บทบาทหน้าที่ของตำรวจจราจรในการจัดการความปลอดภัยและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร ยุคไทยแลนด์ 4.0 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. โรงเรียนนายร้อยตํารวจ.

พฤทธิพงศ์ พรหมเต็ม. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี [วิทยานิพน์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

พลสันต์ ตันยะกุล. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัด ฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สมนึก ภัทธิยธานี. (2544). การวัดผลการศึกษา. ประสานการพิมพ์.

สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ. http://nscr.nesdc.go.th/

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. กองแผนงานอาชญากรรม. (2566). สถิติข้อมูลอาชญากรรม. http://thaicrimes.org/crimestat/

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร 5 ปี (2561-2565). http://www.samutsakhonpao.go.th/index.html

อนุชา แก้วก่ำ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กองบัญชาการตำรวจนครบาล. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_bangkok13_06102020/6117950036.pdf