ระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

กัณฐมณี รษบุตร
กรรณิกา กุกุดเรือ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเมืองรองมากขึ้น การจัดการระบบความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวดังกล่าว การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ t- test และ One - way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการหลอกลวง/ต้มตุ๋น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านสุขอนามัย/โรคระบาด และด้านธรรมชาติ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อาชีพ และภูมิลำเนา ของนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการจัดการความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กรรณิกา กุกุดเรือ, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Degree of Master of Public Administration, Security Management, Faculty of Police Science, Royal Cadet Academy

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิตินักท่องเที่ยว. https://www.mots.go.th/news/category/411

เจริญ รู้อยู่. (2564). การบริหารจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.

ดารณี อาจหาญ, เกิดศิริ เจริญวิศาล, และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2565). การยกระดับมาตรฐานปลอดภัยด้านสุขอนามัยการท่องเที่ยวที่พักชุมชนวัฒนธรรมยั่งยืนหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. ารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(1), 186-204. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/250823/172138

ทัชชกร แสงทองดี. (2560). รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 4(2), 22-38. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/194013/135147

พงษ์ดนัย ปรังฤทธิ์. (2561). จิตสำนึกการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมในการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านจ่าโบ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

มนัญชยา เหมทานนท์. (2556). ทัศนะของคนทำงานกลางคืนในสถานบริการประเภท 4 ต่อสาเหตุการค้าบริการทางเพศ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนัส โนนุช, และสุดาวรรณ สมใจ. (2563). โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสนับสนุนความปลอดภัย บทบาทตำรวจท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผบต่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 157-168. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/222760/163671

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ. 2566-2570).

สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก. (2557). เทศบาลนครพิษณุโลก.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564-2565).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566ก). สถิติคดีอาญาคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ จำแนกตามประเภทความผิดรายจังหวัด พ.ศ. 2560-2565. https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=310

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566ข). สถิติคดีอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จำแนกตามประเภทความผิด รายจังหวัด พ.ศ. 2560-2565. https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=310

เอกชัย ชำนินา. (2563). การจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 174-189. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246252/166421

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.