การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะ ทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ

Main Article Content

จีรนันท์ พูลสวัสดิ์
ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์
ธิดารัตน์ พานพ่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ (2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้ปกครองในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับ ผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ และ (3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพซึ่งพาลูกมารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี อย่างสม่ำเสมอ คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้ปกครองจากการใช้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ และ (3) แบบวัดความพึงพอใจ ของผู้ปกครองในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกายของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Samples t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ มีประสิทธิภาพการเรียนรู้ (E1 / E2) เท่ากับ 84.80/86.002) ผู้ปกครองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังจากใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านร่างกาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.80, S.D. = 0.32)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การศึกษาสำหรับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย. เบรน-เบสบุ๊คส์.

ชุติมา รอดไหม. (2561). ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง อักษรนำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสหราษฎร์บำรุง จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23).สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณฤดี บุญหาญ. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกอบรม เรื่อง การให้ความรู้ทางการเงินสำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาห้วยไร่ จังหวัดอำนาจเจริญ.[การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลัคนา ปะโมนะตา, วิภาลักษณ์ แสงตา, ศศิมณฑล แก้วพิมพ์, สุจิตรา ดับทุกข์รัฏฐ์, สุภัทร์ชากร แก้วนอก, สุภาดา พลหมอ, อภิญญา หิมพรมราช, และอภิญญา แสนตา. (2563). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ความรุนแรงในเด็กวัยก่อนเรียนและการป้องกัน เรื่อง รักหมดใจให้วัยก่อนเรียนต่อความรู้ของผู้ดูแลเด็กในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา: รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชลนี นครราชสีมา.

วารุณี คงวิมล. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง การใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อ การสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันติ นรากุลนันท์. (2565). การพัฒนาของเล่นโบราณเพื่อส่งเสริมทักษะ STEM สำหรับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในจังหวัด ร้อยเอ็ด. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

สุจินต์ ศรชัย. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์วิชาเทคโนโลยี 1 กลุ่มสาระ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาย ธนวเสถียร, และชูเกียรติ ศักดิ์จิรพาพงษ์. (2549). การออกแบบบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบมีปฏิสัมพันธ์. ดิจิเทนต์.

สุวรรณี สุโทษา. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) อ่านเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการขยายพันธุ์พืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

โสภา กรรณสูต, นิตยา ไทยาภิรมย์, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, สมจิต เกียรติวัฒนเจริญ, และนพวรรณ รัตนดำรงอักษร.(2553). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย เรื่อง "การนวดทารก" สำหรับผู้ดูแลเด็กในโครงการศูนย์ศึกษาเด็กเล็ก: รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Beaty, J. (1998). Observing development of the young child (4th ed.). Prentice-Hall International.

Mwanga-Amumpaire, J., Kalyango, J. N., Källander, K., Sundararajan, R., Owokuhaisa, J., Rujumba, J.,Obua, C., Alfvén, T., & Ndeezi, G. (2021). A qualitative study of the perspectives of health workers and policy makers on external support provided to low-level private health facilities in a Ugandan rural district, in management of childhood infections. Global Health Action, 14(1), 1961398. https://doi.org/10.1080/16549716.2021.1961398