การพัฒนาสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดจันทบุรีและตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียใช้ระเบียบการวิจัยและพัฒนา โดยศึกษาสร้างและพัฒนาหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียและทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 81 คน จาก 5 โรงเรียน ในจังหวัดจันทบุรีและตราด ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t–test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดีย รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.67/81.83 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 11.46 และมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 5.27 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กษิดิ์เดช คำพุช. (2566). ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก: สาเหตุ แนวทางแก้ไข และบทบาทของภาคีเครือข่าย. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 25(2), 1-1.
กิดานันท์ มะลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉัตรแก้ว ศรีวงศ์. (2556). การพัฒนาปฏิบัติการเสมือนเพื่อเสริมการเรียนรู้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นพกุล ปุคลิต. (2565). การเปรียบเทียบสาเหตุและผลกระทบจากการย้ายของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วารสารบริหารการศึกษา, 19(36), 1-12.
นิตยา มั่นศักดิ์. (2560). การสร้างและตกแต่งงานคอมพิวเตอร์กราฟิกด้วยโปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรทิพย์ ชูศรี. (2556). การพัฒนาบทเรียนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เพ็ญพะนอ พ่วงแพ, และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 430-447.
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2558). ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี. https://shorturl.asia/GWXDC
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก. https://shorturl.asia/ GWXDC
สุภาพรรณ มาลัย, ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์, และไพฑูรย์ พิมดี. (2559). การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องความรู้เบื้องต้นโปรแกรมไมโครซอฟต์แอคเซส สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 70-77.
อุทิศ ดวงผาสุข. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 183-196.