การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ธิดารัตน์ พานพ่วง
จีรนันท์ พูลสวัสดิ์
ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดจันทบุรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดจันทบุรีก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ เด็กความบกพร่องทางสติปัญญา อายุ 4-6 ปี ที่มารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2566 อย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ไม่รุนแรง เป็นกลุ่มที่เรียนได้ สื่อสารด้วยการพูด มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 2) ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 3) แบบประเมินทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 4) คู่มือแบบประเมินทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 5) แบบบันทึกพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก 6) คู่มือแบบบันทึกพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าร้อยละของค่าเฉลี่ย (gif.latex?x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.75/81.46 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 75/75 และความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2566). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยประจำเดือนกันยายน 2566. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551. คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. เบรน-เบส.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2553). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จตุพร ปัญโญใหญ่, ทรงศรี ตุ่นทอง, และทิพวัลย์ คำคง. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 3(1), 51-52.

จินต์นิภา วรรณจาโร. (2558). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายโดยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐนรี บุบผศิริ. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). ศิลปะบำบัดศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. คุรุสภาลาดพร้าว.

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, และอิสราภา ชื่นสุวรรณ. (2561). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. ใน สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ (บรรณาธิการ), ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก (เล่ม 4, น. 461-462). พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

นภสวรรณ์ ฤทธิ์เดช. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวคิดของ Gesell ในการพัฒนาความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประภาศิริ ปราโมทย์. (2561). การพัฒนาชุดกจิกรรมการเรียนรู้คณติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ควบคู่กับเกม เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พุทธศักราช 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, 125(28ก), 3-5.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545. (2545). ราชกิจจานุเบกษา, 116(74ก), 5.

พูนสุข บุณย์สวัสดิ์. (2552). เมื่อหนูหัดเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). วิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(2), 3-4.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). รายงานฉบับประชาชน ปัญหา ความต้องการ การเข้าถึงบริการ ของเด็กพิการในชุมชน และสถานการณ์กำลังคนด้านการฟื้นฟูสุขภาพ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2565). ระบบสารสนเทศการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์. http://www.specialset.bopp.go.th/set_index/index.php

อธิษฐาน พูลศิลป์ ศักดิ์กุล. (2556). กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กเสริมสร้างสติปัญญา. บันทึกคุณแม่, 9(118), 110-114.

อิทธิพัทธ์ น้อยภูธร. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมกล่องงาน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

American Association on Intellectual and Developmental Disabilities. (2017). Diagnostic adaptive behavior scale. https://aaidd.org/intellectual-disability/definition

Kielhofner, G. (2004). Conceptual foundations of occupational therapy (3rd ed). F. A. Davis.

Koo, J., & Thomas, E. (2019). Art therapy for children with autism spectrum disorder in India. Taylor & Francis. https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/07421656.2019.1644755

Mayesky, M., Neuman, D., & Wlodkowski, R. J. (1998). Creative activities for young children. Delmar.

Shelden, M. L. L. (1997). The effect of positioning on the fine motor accuracy and compensatory behaviors observed during fine motor tasks of students with cerebral palsy who are nonambulatory [Doctoral dissertation]. University of Oklahoma.