การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิจำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1)แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 24 แผน 2)แบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 3)แบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัย The One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่า t-test dependent
ผลการวิจัย พบว่า การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดอย่างเป็นระบบจากประสบการณ์ตรง เด็กมีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์ผลงานหรือองค์ความรู้ใหม่ ส่งผลต่อความรู้สึกชื่นชมและยอมรับในตนเอง มีความกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งเป็นคุณลักษณะความคิดสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21 สรุปได้ว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จะมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21 ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กมล โพธิเย็น. (2562). ความคิดสร้างสรรค์: พรสวรรค์ที่ครูควรสรรค์สร้างให้ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(1), 9-27.
กรภัสสร อินทรบำรุง. (2563). ความคิดสร้างสรรค์: ส่งเสริมอย่างไรในวัยอนุบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 8-30.
ทิพย์อักษร พุทธสริน. (2567). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 4(4), 303-324.
ทิพย์อักษร พุทธสริน, อัจฉรา สมแวง, กมลวรรณ สุคะโต, และลลนา คลังชำนาญ. (2566). การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย: กลุ่มทักษะพื้นฐาน. วารสารวิชาการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 8(2), 114-122.
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. (2557). ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อเด็กอย่างไร? http://thaissf.org/cd020/
วรรธนา นันตาเขียน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.). (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn.Solution Tree Press.
Fadel, C., & Trilling, B. (2015). 21st century skills: Learning for life in our times. Education Review. https://doi.org/10.14507/er.v0.1296
Kay, K. (2012). Two tools for 21st century schools and districts. http://thirteencelebration.org/blog/edblog/edblog-two-tools-for-21-stcentury-schools-and-districts-by-den-kay/2903/Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teacher. Association Press.
Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2005). Learning styles and learning spaces: Enhancing experiential learning in higher education. Academy of Management Learning and Education, 4(20), 193-212.
Partnership for 21st Century Skills. (2019). Framework for 21st century learning.
http://www.battelleforkids.org/networks/p21/frameworks-resources
Torrance, E. P. (1966). Torrance tests of creative thinking. Personnel Press.