รูปแบบการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศใน มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบของการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศจากการสังเคราะห์วรรณกรรม จำนวน 32 เรื่อง 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม และ 3) การประเมินรูปแบบการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศ จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 22 คน โดยใช้แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ มี 5 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย งบประมาณ สถานที่ อุปกรณ์ และ สิ่งอำนวยความสะดวก การคัดเลือกนักกีฬามวยปล้ำ และ ผู้ฝึกสอนกีฬามวยปล้ำ ด้านกระบวนการ แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย การบริหารองค์กร การสร้างแรงจูงใจ การฝึกซ้อม การจัดประสบการณ์ในการแข่งขัน และ การจัด การศึกษา ด้านผลผลิต แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางจิตใจ และ ทักษะกีฬามวยปล้ำ ด้านผลลัพธ์ แบ่งเป็น 1 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ผลการแข่งขัน และ ด้านข้อมูลย้อนกลับ แบ่งเป็น 1 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ความพึงพอใจ ผลการประเมินรูปแบบการจัดการกีฬามวยปล้ำเพื่อความเป็นเลิศในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ และ ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 4.45 และ 4.38 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2565-2570). โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2566). เกณฑ์และคู่มือประกอบการพิจารณาการบริหารจัดการอย่างมีมาตรฐานตามแนวทางการพัฒนากีฬาเป็นเลิศ (MODEL) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2551). การวิจัยอนาคต. วารสารสมาคมการวิจัย, 13(2), 9-13.
ฉัตรชัย นาถ่ำพลอย. (2562). การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสังคมปัจจุบัน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(3), 171-178.
ณัฐกานต์ ขันทอง, ธงชาติ พู่เจริญ, ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์, และรัชนี ขวัญบุญจัน. (2563). รูปแบบการบริหารด้านกีฬาโรงเรียนกีฬาในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), 239-250.
ดิฏฐชัย จันทร์คุณา. (2565). การจัดการเพื่อประสิทธิผลองค์กรกีฬา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บงกช จันทร์สุขวงค์ (2562). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พนม หงษ์ชุมแพ, และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2563) การศึกษาศักยภาพในการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นสู่ขอนแก่นเมืองกีฬา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 15-30.
พรวิจักษณ์ ครุฑกะ, และณัฐชนนท์ ซ้งพุก. (2567). ปัจจัยความสำเร็จทางการกีฬาประเภททีมสำหรับนักกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. วารสารจุฬานาครทรรศน์, 11(6), 82-93.
พลากร ชาญณรงค์. (2565). รูปแบบการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกทางกีฬาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิชญาภา จันทศรี. (2563). กลยุทธ์การจัดการคุณภาพโดยรวมเพื่อส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มณีวรรณ จันทวงศา, สุกัญญา เจริญวัฒนะ, นภพร ทัศนัยนา, และเสกสรร ทองคำบรรจง. (2562). การจัดทำแผนการดำเนินงานของสหพันธ์กีฬามวยปล้ำแห่งชาติลาว. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 15-26.
เมศธพร เมฑผึ้ง, สาโรจน์ แก้วอรุณ, สุดา เนตรสว่าง, และธรรมรส โชติกุญชร. (2567). การบริหารการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนกีฬาในเขตภาคเหนือ สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 9(1), 907-916.
สมาคมกีฬามวยปล้ำแห่งประเทศไทย. (2565). แผนงานยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ตำแหน่ง บทบาทหน้าที่ ฝ่ายเทคนิค พ.ศ. 2565-2569.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 – 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).
อัษ แสนภักดี. (2558). แนวคิดการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 2(2), 173-201.
Akramovich, T. A., & Alidjanovna, A. N. (2022). Teaching of the national sports center of wrestling in higher education. International Journal of Social Science & Interdisciplinary Research, 11(11), 178–186.
Curby, D., Dokmanac, M., Kerimov, F., Tropin, Y., Latyshev, M., Bezkorovainyi, D., & Korobeynikov, G. (2023). Performance of wrestlers at the Olympic Games: Gender aspect. Pedagogy of Physical Culture and Sports, 27(6), 481–487. https://doi.org/10.15561/26649837.2023.0606
Özbay, S., & Ulupınar, S. (2022). Strength-power tests are more effective when performed after exhaustive exercise in discrimination between top-elite and elite wrestlers. Journal of Strength and Conditioning Research, 36(2), 448-454.
Smith, J., & Smolianov, P. (2016). The high-performance management model: From Olympic and professional to university sport in the United States. The Sport Journal, 4(2), 1-19.
Trotter, M. G., Coulter, T. J., Davis, P. A., Poulus, D. R., & Polman, R. (2021). Social support, self-regulation, and psychological skill use in e-athletes. Frontiers in Psychology, 12, 722030.