การประเมินความต้องการจำเป็นโดยสมบูรณ์เพื่อการพัฒนา ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

Main Article Content

จุฑาทิพย์ สร้วงสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (2) จัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา และ (5) ประเมินคุณภาพแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา โดยมีขั้นตอนการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกคือการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) การศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2) การจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา 3) การศึกษาสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา ประชากรในการวิจัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 13,336 คน ตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณเป็นข้อมูลทุติยภูมินักศึกษาจำนวน 1,048 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จัดลำดับความสำคัญ และวิเคราะห์สาเหตุโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) ระยะที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน 1) การศึกษาแนวทางการพัฒนาสภาพภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน 2) การประเมินคุณภาพแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พัฒนาขึ้นโดยคณาจารย์ 5 ท่าน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบประเมินคุณภาพแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) สภาพภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก (2) ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษาประกอบด้วยองค์ประกอบจำนวน 7 ตัว (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษามีจำนวน 6 ตัว (4) แนวทางที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ แนวทางย่อย 14 แนวทาง (5) แนวทางที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเหมาะสมในการนำไปใช้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงศ์ วงศ์พิทักษ์กุล. (2561). กลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุฑาทิพย์ สร้วงสุวรรณ. (2562). การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร.

จุฑาทิพย์ สร้วงสุวรรณ. (2564). สภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร.

จุฑาทิพย์ สร้วงสุวรรณ. (2565). การพัฒนาตัวบ่งชี้และโมเดลสาเหตุและผลภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร.

ชุติมา รักษ์บางแหลม, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ชวลิต เกิดทิพย์, และชิดชนก เชิงเชาว์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม: หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันการศึกษา. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(1), 168-181.

ธัญมัย แฉล้มเขต. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับครูผู้ช่วยโรงเรียนมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมา แคนยุกต์. (2554). รูปแบบการสร้างเสริมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เพ็ญสินี กิจค้า. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 62-75.

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570.

สุริยันต์ กันทิพย์วรากุล, วัฒนา สุริยจันทร์, กฐิน พุทธพิมเสน, อนุชา กิตติชัยชาญ, และจิรัชญา มูลหงส์. (2562). คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 11(1), 45-56.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หนูไกร มาเชค. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การศึกษาตัวบ่งชี้และพัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 63-78.

Brown, S., & Chikeleze, M. (2020). A new conceptual model: Integrating ethical leadership into the Assess, Challenge and Support (ACS) model of leader development. Journal of Leadership Education, 19(4), 147–162.

Dodge, L., Skorheim, N., Teevens, G., Oas, B., Souther, M., Strode, D., Eisenbeis, L., Rutten, R., Schneider, C., Bourgois, S., McDonough, K., & O’Connor, M. M. (2013). Guidelines: Intellectual disabilities in educational settings. ERIC. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED572818.pdf

Evans, M. E., Taylor, R. M., McCloud, L., & Burr, K. (2022). Exploring the role of faculty and staff mentors in fostering ethical leadership among undergraduate students: “We have to narrow the distance”. International Journal of Mentoring and Coaching in Education, 11(2), 137-152.

Frija, L., & Barzi, R. (2021). Ethical leadership antecedents review: Call for more research contextualization & proposition of conceptual framework. International Journal of Accounting, Finance, Auditing, Management and Economics, 2(6), 59-81.

Göçen, A. (2021). Ethical leadership in educational organizations: A cross-cultural study. Turkish Journal of Education, 10(1), 37–57.

Guerra-Farfan, E., Garcia-Sanchez, Y., Jornet-Gibert, M., Nuñez, J. H., Balaguer-Castro, M., & Madden, K. (2023). Clinical practice guidelines: The good, the bad, and the ugly. Injury, 54, S26-S29.

Guo, K. (2022). The relationship between ethical leadership and employee job satisfaction: The mediating role of media richness and perceived organizational transparency. Frontiers in Psychology, 13, 885515.

Gurley, D. K., & Dagley, A. (2021). Pulling back the curtain on moral reasoning and ethical leadership development for K-12 school leaders. Journal of Research on Leadership Education, 16(3), 243–274.

Han, P. C. (2022). A blueprint of leadership development for female marriage migrants: A pilot exploration in Taiwan. Adult Learning, 33(4), 168-181.

Hubchen, J., Wyatt, S., & Burnett, M. F. (2024). Ethical leadership: A study of behaviors of leaders in higher education today. The Journal of Values-Based Leadership, 17(1), 1-18.

Kaufman, R., & Stakenas, R. G. (1981). Needs assessment and holistic planning. Educational Leadership, 38(8), 612-616.

Lui, L., & Zhao, L. (2019). The influence of ethical leadership and green organizational identity on employees’ green innovation behavior: The moderating effect of strategic flexibility. Earth and Environmental Science, 237(5), 1-8.

Moeen, H., Fiaz, M., & Taous, M. (2023). Ethics and organizational performance: Exploring the impact of leadership in higher education. Open Access Organization & Management Review, 2(1), 45–54.

Nakamura, Y. T., Hinshaw, J., & Yu, D. (2024). The role of empathy in developing ethical leadership: Neurobiology and video-based approaches. Springer International Publishing.

Skeet, A. (2017). A model for exploring an ethical leadership practice. Santa Clara University. https://www.scu.edu/ethics/leadership-ethics-blog/practice-of-ethical-leadership/

Witkin, B. R., & Altschuld, J. W. (1995). Planning and conducting needs assessments: A practical guide. Thousand Oaks.

Wrensch, J. L. (2020). The difference between a policy, procedure, standard and guideline. Michalsons. https://www.michalsons.com/blog/the-difference-between-a-policy-procedure-standard-and-a-guideline/42265

Younas, A., Wang, D., Javed, B., Rawwas, M. Y. A., Abdullah, I., & Zaffar, M. A. (2020). Positive psychological states and employee creativity: The role of ethical leadership. Journal of Creative Behavior, 54(3), 567–581.